การศึกษาผลจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดาราศาสตร์และอวกาศของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ

Main Article Content

คทาวุธ กุลศิริรัตน์
นิติพงษ์ ศิริวงศ์
ธานินทร์ ปัญญาวัฒนากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดาราศาสตร์เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี โดยมีจุดประสงค์ของการวิจัย 2 ประการดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชาดาราศาสตร์ ในด้านความรู้ และการประเมินตนเองต่อการปฏิบัติกิจกรรมดาราศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก จำนวน 44 คน ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในศึกษา คือ กิจกรรมการเรียนรู้วิชาดาราศาสตร์ในระดับประถมศึกษาที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือจำนวน 7 กิจกรรม


ผลการวิจัยพบว่า 1) ใช้แบบวัดคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือประเมินตนเองว่ามีทักษะการทำงานเป็นทีมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 91.93 คะแนน จากคะแนนเต็ม 125 ค่าเฉลี่ย 3.57 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.08 อยู่ในระดับมาก ค่าร้อยละการปฏิบัติตัวของนักเรียนประเมินตนเองว่ามีพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมเป็นประจำทุกครั้ง ร้อยละ 27.73 เกือบทุกครั้งร้อยละ 32.64 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 24 น้อยครั้ง 11.64 และไม่เคยทำงานเป็นทีมร้อยละ 4   2) ใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ โดยดำเนินการทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง หรือกลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นโดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 14.36)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

คทาวุธ กุลศิริรัตน์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

อาจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

นิติพงษ์ ศิริวงศ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

อาจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

ธานินทร์ ปัญญาวัฒนากุล, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

อาจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นันทวัน เรืองอร่าม. (2563). เสริมทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนด้วยเกม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 32 (115). 3–11.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน.(พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธีและเทคนิค

การสอน1. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2560). สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ.(พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์

ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วันเพ็ญ จันทรเจริญ. (2542). การเรียนการสอนปัจจุบัน. สกลนคร: สถาบันราชภัฏสกลนคร.

Filiz Demirci, Cengiz Özyürek. (2017). The Effects of Using Concept Cartoons in Astronomy Subjects on Critical Thinking Skills among Seventh Grade Student. International electronicjournal of elementary education. 10(2).1307-9298.

Çiğdem Şahin, Ümmü Gülsüm Durukan. (2017). Effect of 5E teaching model on primary school pre-service teachers’ learning on some astronomy concepts. Journal of Baltic Science Education. 16(2),148-162.

Gadbaw Berkeley , Holveck Susan. (2017). Moving students toward a more accurate view of the solar system. Science Scope. 40(7). 65-76.

Robinson Cheska. (2017). Four stellar modeling resources for those who teach about the Sun and solar system. Science Scope. 40(7).20-23.

Ka Chun Yu, Sahami Kamran, Dove James. (2017). Learning about the scale of the solar system using digital planetarium visualizations. American Journal of Physics. 85(7). 550-556.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัณนภัทร บางประอินทร์. (2557). ผลของบทเรียนบนเครือข่ายที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยวิธีบูรณาการสาระการเรียนรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา.คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(สำเนา)

เสาวนีย์ ไชยปาน. (2557). ผลของบทเรียนบนเว็บที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มเรื่องภาวะโลกร้อนที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา.คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (สำเนา).

วรางคณา พับโพธิ์. (2560). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบร่วมมือต่อการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต.สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร. (สำเนา).

รัตนา ลีรุ่งนาวารัตน์ และ ดวงกมล โพธิ์นาค. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุเพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 9 (2), 22–29.

จินตนา จ่าเห็ม. (2557). ผลของบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เรื่องการสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา.คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยของแก่น.(สำเนา)

ภาสกร เรืองรอง. (2557). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการประยุกต์โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตการศึกษามหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาแขนงคอมพิวเตอร์ศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการ

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 5 (1),153 – 160.

อนุรักษ์ เมฆพะโยม สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์ และสมศักดิ์ อรรคทิมากูล. (2560). ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ P-CSDE เรื่องระบบการสื่อสารดิจิทัลสำหรับการศึกษาด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 8 (1),222 – 230.