ภาวะผู้นำมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริห ารสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

กัญญา หมอกลาง
นิพนธ์ วรรณเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากร จำนวน 191 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-100 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านการฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค ด้านการบริหารสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการสื่อสาร ด้านการเจรจาต่อรอง ด้านการจูงใจ และด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำแนกตามสถานภาพของบุคลากร โดยภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กัญญา หมอกลาง, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

นิพนธ์ วรรณเวช, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

 อาจารย์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

References

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ:แนวคิด ทฤษฏีและกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่ 12 (2560-2564). พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร

การุณ สกุลประดิษฐ์. (2559). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร:สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). 15 รูปแบบการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ รุ่น 1 ป 2544. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สำเร็จ วงศ์ศักดา และคณะ. (2563). [ออนไลน์]. รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563.]. เข้าถึงได้จาก :

http://www.journal.kmutnb.ac.th/web_old/download.asp? idjournal=51,

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). [ออนไลน์]. การจัดการอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อ15 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : http://www.vec.go.th/.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determing sample size for research activities, Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610..

Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey : Prentice-Hall.

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. ภาคนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ธงชัย เจนโกศล. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหา บัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

McCollum, B. C. (2000). Self-development and the spontaneous expression ofleadership ehaviors. n.p.

ตวงพร รุ่งเรืองศรี. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

เดือนเพ็ญ บุญใหญ่เอก. (2557). การบริหารการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

Shaman, C. C. (2005). [online]. Leadership and the learning organization. [Retrieved July 18, 2020]. From http://www.lib.umi.com/dissertations/fullcit/1426664

Crawford, L. M. (2004). High school principal leadership: Practices and beliefswithin the learning organization. Ph.D. Dissertation: Northern IIIinois University.

Kouzes, J. M. & Posner, B. Z. (1993). The leadership challenge : How to get extraordinary things done in organizations. San Francisco: Jossey - Bass.

Waston, S. H. (2000). Leadership requirements in the 21 century: The perceptionsof Canadian private sector leaders.

อัญชลี พิมพ์พจน์. (2553). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.