รูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการของนักเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนารูปแบบศักยภาพด้านการบริหารจัดการ และเพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการของนักเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ ด้วยวิธีวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) และการวิจัยเชิงประมาณ (Quantitative Research) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การประชุมสนทนากลุ่มประชาพิเคราะห์ (Focus Group Discussion) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจผ่านแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประการณ์ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 7 ท่าน 2) การประชุมสนทนากลุ่มประชาพิเคราะห์ 13 ท่าน และ 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม 416 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการของนักเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ ประกอบด้วย 1) ทัศนคติและแรงจูงใจ 2) ระบบนิเวศดิจิทัล 3) ภาวะผู้นำและสมรรถนะที่จำเป็น 4) ค่านิยมและกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเอกฉันท์ และคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการของนักเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐได้ผ่านการประเมินว่าเนื้อหามีความสอดคล้องเหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). [ออนไลน์]. ปัญญาประดิษฐ์ในการบริการภาครัฐ. [สืบค้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564]. จากhttps://www.etda.or.th/getattachment/bb938d1a-6dd4-4407-bd87-d026773eda89/AI-in-Government-Services.aspx
โชติวริทธิ์ ชัชชัยยากิตติ์. (2564). การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์. 2 (3), 175-189.
Oxford Insights and the International Research Development Centre (IDRC). (2020). Government Artificial Intelligence Readiness Index 2020. Retrieved December 19, 2021, from https://www.oxfordinsights.com/government-ai-readiness-index-2020
Oxford Insights and the International Research Development Centre (IDRC). (2021). Government Artificial Intelligence Readiness Index 2021. Retrieved February 25, 2022, from https://www.oxfordinsights.com/government-ai-readiness-index2021
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน. (2561). [ออนไลน์]. แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับปรับปรุง). [สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564]. จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/07/แยกด้าน-02-บริหารราชการแผ่นดิน.pdf
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2563). [ออนไลน์]. กรอบการทำงานปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ. [สืบค้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564]. จาก https://dgti.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/01/AI-Government-Framework.pdf
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2564). [ออนไลน์]. สำรวจความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงาน 2564. [สืบค้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565]. จาก https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/readinesssurvey64/
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). [ออนไลน์]. ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก: This Time is Different. [สืบค้นวันที่ 18 มกราคม 2565]. จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Mar2020.aspx
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). แนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ (Thailand AI Ethics Guideline). [สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2565]. จาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8513
McClelland, D. C. (1973). “Testing for competence rather than intelligence.” American Psychologist. 28 (1) , 1-14.
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House Incorporated.
Lombardo, M. M., & Eichinger, R. W. (1996). FYI: For your improvement: a guide for development and coaching. The Leadership Architect Suites. MN: Lominger.