ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรม ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

Main Article Content

ธนวรรณ สอ้าง
ธนภพ โสตรโยม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ) ศึกษาการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามกับการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน / นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคว์สแควร์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์    


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เรียนให้ความสำคัญต่อการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรม ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการประกอบอาชีพ ด้านหลักสูตร ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้านภาพลักษณ์ของวิทยาลัย และด้านสภาพแวดล้อมของวิทยาลัย และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ กับการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี พบว่า เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) อาชีพของผู้ปกครอง และรายได้ของผู้ปกครองต่อเดือน มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรม ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธนวรรณ สอ้าง, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต  สาขาคหกรรมศาสตร์  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ธนภพ โสตรโยม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์ ดร.ประจำหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

วิเชียร ดีฉาย. (2554). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของนักศึกษาสาขาเทคนิคการผลิตสังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 และภาคเหนือ 2.หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545-2559) : พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

รติกร นันทวิสิทธิ์. (2551). ความคิดเห็นของนักศึกษาคณะคหกรรมศาสตร์ที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นนทลี พรธาดา. (2551). การพัฒนาภาพลักษณ์คหกรรมศาสตร์ในสังคมไทย. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลธัญบุรี.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี. (2559). [ออนไลน์] แผนยุทธศาสตร์. (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559). เข้าถึงได้จาก http:// www.singburivc.ac.th/

เมธาวี สุขปาน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของนักเรียน กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี.หลักสูตรเศรษฐศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Maslow, A. H. (1976). Motivation and Personality. New York : Harper and Brother.

สายม่าน เปลี่ยนเหล็ก .(2554). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกลและซ่อมบำรุงในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 และ ภาคเหนือ 3.หลักสูตรครุศาสตร์

อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

โสมรัศม์ อมรวุฒิพงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ มหาวิทยาลัยพะเยา.ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

ศศิธร แทนรินทร์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2553.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

วรรณี สินศุภรัตน์. (2550).ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA). รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ บพิตรพิมุขมหาเมฆ.

มนตรี ศกุนตะประเสริฐ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อระดับประถมศึกษาของผู้ปกครองโรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ (ราชพงษ์) สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.