การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา

Main Article Content

สุพรรษา อเนกบุณ
จุฑามาศ แหนจอน
พงศ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการประเมินคุณภาพระดับหลัก


สูตรฯ เพื่อพัฒนาระบบประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ เพื่อทดลองใช้และหาประสิทธิผลของระบบประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 379 คน กลุ่มเป้าหมายที่นำระบบไปทดลองใช้และหาประสิทธิผลของระบบมี 5 สถานศึกษา ๆ ละ 5 คน ได้ผลการศึกษา คือ การศึกษาสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ลำดับความต้องการจำเป็น 4 อันดับแรก ดังนี้  1. ด้านครูผู้สอน 2. ด้านคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา 3. ด้านทรัพยากรและการจัดการ 4. ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และการประเมินผลผู้เรียน เมื่อนำผลของการศึกษาสภาพการดำเนินงานมาวิเคราะห์ Factor Analysis ใช้เกณฑ์พิจารณาค่า Eigenvalues ที่มากกว่า 1.5  สกัดได้ 4 องค์ประกอบ คือ 1. ด้านการบริหารและจัดการศึกษา  2.  ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินผู้เรียน  3. ด้าน ผู้สอน  4. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน  การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ขั้นตอนของการดำเนินงานของ


ทดลองใช้และหาประสิทธิผลของระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ภาพรวมของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อการทดลองใช้ระบบ 1. ขั้นประชุมวางแผนและทบทวน กิจกรรมของระบบ อยู่ในระดับ มาก กลไกของระบบ อยู่ในระดับ มากที่สุด 2. ขั้นการใช้เครื่องมือ กิจกรรมและกลไกของระบบ อยู่ในระดับ มาก 3. ขั้นสรุปและรายงานผลการประเมิน  กิจกรรมของระบบมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ประชุมวางแผนและทบทวน 2. การใช้เครื่องมือ 3. สรุปและรายงานผลการการระบบและกลไกของระบบ  อยู่ในระดับ มาก 4. ขั้นนำผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุง  กิจกรรมของระบบ อยู่ในระดับ มาก กลไกของระบบ อยู่ในระดับ มากที่สุด และผลการหาประสิทธิผลของระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ทั้ง 4 มาตรฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุพรรษา อเนกบุณ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

จุฑามาศ แหนจอน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำภาควิชา วิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

พงศ์เทพ จิระโร, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำภาควิชา วิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

โครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี กรมอาชีวศึกษา, สำนักงาน. (2546). คู่มือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร : กรมอาชีวศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). 2552 ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (5 กุมภาพันธ์ 2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125ตอนที่43ก.มาตรา 6 หน้า 3.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม. สำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร :แผนกวิชาการพิมพ์ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

สุชาดา กีระนันทน์. (2542). ทฤษฎีและวิธีการสำรวจตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษม บุญอ่อน. (2522). เดลไฟ: เทคนิค. วารสารคุรุปริทัศน์.

จุมพล พลูภัทรชีวิน. (2548). ปฏิบัติการวิจัยอนาคตด้วย EDFR. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13 (12).9-13.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฏีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 3กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.