ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชาคหกรรม ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ด้านประเภทวิชาคหกรรมในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม 2) ศึกษาแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชาคหกรรมในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชาคหกรรมในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านประเภทวิชาคหกรรมกับแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชาคหกรรมในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน นักศึกษา ที่กำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาคหกรรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ปีการศึกษา 2559 จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson Chi-Square วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เรียนประเภทวิชาคหกรรมในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับประเภทวิชาคหกรรม อยู่ในระดับปานกลาง 2) แรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชา คหกรรมในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ผลการวิจัย พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียนประเภทวิชา
คหกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชาคหกรรมในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความรู้ด้านประเภทวิชาคหกรรม มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชา คหกรรมในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม จำแนกตามด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านความภาคภูมิใจในสาขาวิชาชีพที่เรียน ด้านความสัมพันธ์ต่อครูผู้สอน ด้านความสัมพันธ์ต่อเพื่อน และด้านสภาพแวดล้อมห้องเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. (2559).
[ออนไลน์] แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559) : http://www.moe.go.th/
moe/th/news/detail.php?NewsID=4719
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). [ออนไลน์] วิสัยทัศน์และพันธกิจ. (สืบค้นเมื่อวันที่ 20, กันยายน 2559) http://www.moe.go.th/
websm/2016/sep/399.html
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4. (2559). [ออนไลน์] ข้อมูลหลักสูตร. (สืบค้นเมื่อวันที่ 10, ธันวาคม 2559) http://www.nc.ac.th/inde.
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม. (2559). [ออนไลน์] ข้อมูลจำนวนนักเรียน นักศึกษา. (สืบค้นเมื่อวันที่ 4, มีนาคม 2559) http://www.nc.ac.th/inde.
อัครพล ไวเชียงค้า. (2556). ทัศนคติต่อการอนุรักษ์งานใบตอง ดอกไม้เครื่องสดของนักศึกษาคณะเทคโนโลยี
คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
รติกร นินทวิสิทธิ์. (2551). ความคิดเห็นของนักศึกษาคณะคหกรรมศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการสอนของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาคหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัมพา แก้วจงประสิทธิ์. (2551). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จริยา กล้ารบ. (2556). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โรงเรียนบ้านมาบตาพุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุจิตรา อินอำพร. (2555). ศึกษาความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมของโรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จันทิมา รอดคง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
นภษร จันทนโอ. (2557). การรับรู้บทบาทวิชาชีพ คหกรรมศาสตร์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยี
คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.