อิทธิพลของรูปแบบการจัดสวัสดิการและปัจจัยจูงใจที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การ

Main Article Content

อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์
มะดาโอะ สุหลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ความสัมพันธ์ และอิทธิพลของรูปแบบการจัดสวัสดิการ ปัจจัยจูงใจที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 417 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.853-0.962 และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม อิทธิพลรวม และตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของรูปแบบการจัดสวัสดิการ ปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัย พบว่า ตัวแปรทั้งหมดมีความสัมพันธ์มีค่าอยู่ระหว่าง .09 ถึง .829 ส่วนแบบจำลองโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไคสแควร์ (X2) เท่ากับ 23.651 องศาอิสระ(df) มีค่าเท่ากับ 15, P-value เท่ากับ .071 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน(GFI) มีค่าเท่ากับ .986 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ .037 ความผูกพันต่อองค์การได้รับอิทธิพลจากปัจจัยจูงใจมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสวัสดิการ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .537 และ .063ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนั้นความผูกพันต่อองค์การได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านสวัสดิการโดยส่งผ่านปัจจัยจูงใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางบวกเท่ากับ .258 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ตัวแปรในแบบจำลองสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 33

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

มะดาโอะ สุหลง, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

สำนักข่าวอิศรา. (2558). [ออนไลน์]. วิกฤตพนักงานมหาวิทยาลัยวิกฤตอุดมศึกษาของประเทศ. [สืบค้นเมื่อวันที่15 ธันวาคม 2558]. จาก http://www.isranews.org.

สมศักดิ์ เจตสุรกานต์ (2557). เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารค่าตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล หน่วยที่ 1.พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จีระ ประทีป (2557). เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารค่าตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล หน่วยที่ 6.พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชรา โพชะนิกรและ ชุติระ ระบอบ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันในการทำงานและการออกจากงานของพนักงานด้านโลจิสติกส์การจัดเตรียมอาหาร สำหรับสายการบินจากการจัดจ้างภายนอก. วารสาร ธุรกิจปริทัศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2. กรกฎาคม-ธันวาคม. 25-41.

Kumar, S. A.(2014). An Empirical Study: Relationship between Employee Motivation, Satisfaction and Organizational Commitment. International Journal Manag Business Review. 4.(2). Spring 81-93.

ภัทราภรณ์ ฮุงหวล. (2558). ความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางบัวทอง.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 1. มกราคม-เมษายน. 51-62.

Dorgham, S.R.(2012). Relationship between Organization Work Climate & Staff Nurses Organizational Commitment. Nature and Science. 10( 5). 80-91.

Jahandoost, Z., Niknejadi, F., and Iravani, M.R. (2013). Study of the Relationship between Motivational Factors of Job Satisfaction, Organizational Commitment: Consultant Government Girls High School, Isfahan City (2012-2013). Journal of Human Resources Management and Labor Studies. 1(2). 41-48.

Choong, Y. O., Wong, K. L., & Lau, T. C. (2011). Intrinsic Motivation and Organizational Commitment in the Malaysian Private High Education Institutions: An Empirical Study. Journal of Arts, Science & Commerce, 2(4), 40-50.