ห้องเรียนดิจิทัลเพื่อการเรียนร่วมและพัฒนาทักษะการอยู่รอดในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ฐิติยา เนตรวงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบเรียนร่วมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกระหว่างผู้เรียนปกติกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ยึดหลักสิทธิมนุษยชน การเคารพทุกคน การยอมรับความแตกต่าง ทำให้เกิดการเห็นคุณค่าและสร้างวัฒนธรรมใหม่ในเรื่องความหลากหลาย  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาวิธีการ สร้างนวัตกรรมที่จะสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดในสังคมและโลกยุคดิจิทัลของผู้ที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการเรียนร่วมในยุคดิจิทัล ที่ผู้เรียนต้องปรับตัวให้ทันกับการเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลก สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และปลดล็อคการเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนร่วมระหว่างผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้ ห้องเรียนดิจิทัลจึงเป็นโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนทั้งปวงในการขับเคลื่อนการเรียนร่วมในยุคดิจิทัล เพื่อใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนดิจิทัล กิจกรรมทางการเรียนดิจิทัล การสื่อสารและการทำงานร่วมกันทางออนไลน์ และเครื่องมือดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เชิงปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลซึ่งเป็นทักษะแห่งการอยู่รอดในยุคดิจิทัล โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) การรู้สารสนเทศดิจิทัล  2) การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 3) การรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล 4) การสื่อสาร การทำงานและเรียนร่วมกัน และ 5) การแตกแขนงทางความคิด และสร้างความหมายใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้ผู้เรียน ให้สร้างสรรค์ผลงานร่วมกันได้ทั้งผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษตามกระบวนการดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการอยู่รอดในยุคดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ฐิติยา เนตรวงษ์ , คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 

 

References

Netwong, T. (2018). Instructional Creation Media Project Based for Mainstreaming of

Undergraduate Students to Enhance 21st Century Learning. International Journal of e-Education, e-Business, e-Management and e-Learning. 8(4), pp.227-233.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2558). รายงานผลการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 1. สำนักบริการงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

มณเฑียร บุญตัน. (2558). เสวนาโต๊ะกลม. รายงานผลการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 1. สำนักบริการงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สถิตโชค โพธิ์สอาด. (2559). Grand Challenges in Digital University. Suranaree J. Soc. Sci. 10(2), December, 171-188.

Netwong, T. (2018). Promotion Reading Project Based Learning to Enhance Reading Habit and Learning Culture for Inclusion Student. International Journal of Social Science and Humanity. 8(1), pp.14-19.

FredCavazza.net. (2018). [Online]. Social Media Landscape 2017. [2018, May 16]. From https://fredcavazza.net/2017/04/19/social-media-landscape-2017/.

coggle.it. (2018). [Online]. นวัตกรรมเทคโนโลยีเสริมการสอนในยุคดิจิทัล. [2018, May 16]. From https://coggle.it/.

European Commission. (2018). [Online]. ICT in education: digital schools and classrooms. [2018, May 19]. From http://s3platform.jrc.ec.europa.eu/education.

Garavaglia, A. & Ferari, S. (2012). A model for defining digital classroom settings. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 46(2012), pp. 1983-1987.

Avvisati, F., Hennessy, S., Kozma, R. B. and Vincent-Lancrin, S. (n.d). Review of the Italian Strategy for Digital Schools. Centre for Educational Research and Innovation.

JISC. (2010). [Online]. Quick guide-Developing students’ digital literacy. [2018, May 19]. From https://digitalcapability.jiscinvolve.org/wp/files/2014/09/JISC_REPORT_Digital_

Literacies_280714_PRINT.pdf.

Eshet-Alkalai, Y. (2004). Digital Literacy: A Conceptual Framework for Survival Skills in the Digital Era. Journal of Educational Multimedia and Hypermedia. 13(1), 93-106.

Parameswari, M. & Priya, S. (2016). Survival Skills in Digital Era. An International Journal of Interdisciplinary Studies. Special Issue (1), pp. 1-5.

Trilling, B. and Fadel, C. (2009). 21st century skills: learning for life in our times. San Francisco: Jossey-Bass.

Martin, A. and Grudziecki, J. (2006). DigEuLit: Concepts and Tools for Digital Literacy Development. Innovations in Teaching and Learning in Information and Computer Sciences. 5(4), 249-267.