การพัฒนากระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์

Main Article Content

จิรัญญา เหมวัญ
ปณิตา วรรณพิรุณ
ขัตติยา แถวโสภา ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การพัฒนากระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาของกระบวนการปฏิบัติงานสินค้าคงคลังของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ 2) ศึกษาปัญหาของกระบวนการบริหารสินค้าคงคลังของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ 3) พัฒนากระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ และ 4) ประเมินรับ รองความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนากระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหากระบวนการปฏิบัติงานและปัญหาการบริหารสินค้าคงคลังของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวน การบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ และระยะที่ 3 การประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนากระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ ระยะที่ 4 ผลประเมินประสิทธิผลด้านระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการใช้กระ บวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานคลังสินค้าของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ของบริษัท ไอดีเอสเมดิคอล ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 113 คน และหัวหน้างานคลังสินค้าของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ของบริษัท ไอดีเอสเมดิคอล ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย)จำกัด จำนวน 10 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารสินค้าคงคลังอย่างน้อย 3 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกระบวนการปฏิบัติงานและการบริหารสินค้าคงคลังของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ แบบประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า กระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ ประกอบด้วย 2 กระบวนการย่อย คือ กระบวน การจัดการสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย


1บัณฑิตศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิตสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
Email: Jiranya_haemwan35@hotmail.com
2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัวหน้าศูนย์วิจัยการจัดการนวัตกรรรมและเทคโนโลยี่ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ E-mail: panita.w@fte.kmutnb.ac.th
3ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต E-mail : kattiya.kty@gmail.com
ดังนี้ 1) คำสั่งซื้อและรายการหยิบจ่ายสินค้า 2) เตรียมรายการสินค้าตามคำสั่งซื้อ 3) เอ็นจิเนียเตรียมเครื่อง 4) รายละเอียดการจัดส่ง และ 5) การยืนยันวันส่ง พบว่า กระบวนการควบคุมภายในของการจัดการสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ ประกอบด้วย 5 กระบวนการ ดังนี้ 1) การควบคุมภายในของการปฏิบัติการ 2) การควบคุมภายในของคลังสินค้า 3) การควบคุมภายในของช่าง 4) การควบคุมภายในของพนักงานขาย และ 5) การควบคุมภายในของโลจิสติกส์ และพบว่าผลการประเมินรับรองความเหมาะ สมของกระบวนการพัฒนากระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าของเครื่องมือแพทย์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน พบว่า กระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้จริง อยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมของกระบวน การบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ผลประเมินประสิทธิผลด้านระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการใช้กระบวนการบริหารสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำ เข้าเครื่องมือแพทย์ พบว่า ระยะเวลาในการจัดการสินค้าคงคลังในภาพรวมลดลง 17 วัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การเตรียมรายการสินค้าตามคำสั่งซื้อและเอ็นจิเนียรเตรียมเครื่อง ลดระยะเวลาได้มากที่สุด 4 วัน ผลประเมินประสิทธิผลด้านระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการใช้กระบวนการควบคุมภายในสินค้าคงคลังวัสดุเครื่องมือแพทย์ของธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ พบว่า ระยะเวลาในการควบคุมภายในในภาพรวม 21 วัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การควบคุมภายในของการปฏิบัติการ ลดระยะเวลาได้มากที่สุด 7 วัน รองลง มาได้แก่ การควบคุมภายในของคลังสินค้า และการควบคุมภายในของช่าง ลดระยะเวลาได้ 4 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จิรัญญา เหมวัญ, มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต  

บัณฑิตศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิตสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต  

ปณิตา วรรณพิรุณ, สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัวหน้าศูนย์วิจัยการจัดการนวัตกรรรมและเทคโนโลยี่ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 

ขัตติยา แถวโสภา ยั่งยืน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

References

บล็อคเกอร์ดอทคอม. (2557). [ออนไลน์]. ความหมายของคำว่า "เครื่องมือแพทย์". [สืบค้นข้อมูลเมื่อ 5 ตุลาคม 2559]. จาก http://busnatchanon.blogspot.com/2014/02/blog-post.html?m=1.บทความ

วงการแพทย์ดอทคอม. (2558). [ออนไลน์]. ความต้องการของแพทย์ ผู้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์. [สืบค้นข้อมูลเมื่อ 3 ตุลาคม 2559]. จาก http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id= 1718#.wvxtwvggouk

สุกัญญา มีประดิษฐ์. (2554). การจัดการคลังสินค้า บริษัท คิง เพาเวอร์ แท็กซร์ฟรี จำกัด. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการบิน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยนครพนม.

ชยุต แก้วมหา. (2551). ปัญหาในการจัดการคลังสินค้าในร้าน 7-eleven ในเขตบางเขน. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.