การพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสาน กรณีศึกษา: บ้านห้วยมะเกลือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์
กิตติยา ปลอดแก้ว
สุชาดา เสมอวงศ์ติ๊บ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสานบ้านห้วยมะเกลือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research – PAR) เพื่อ 1.ศึกษาบริบทชุมชนเกี่ยวกับภูมิปัญญาการจักสาน
บ้านห้วยมะเกลือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2. สร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสาน บ้านห้วยมะเกลือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสานบ้านห้วยมะเกลือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 4. เผยแพร่บทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสาน บ้านห้วยมะเกลือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ผ่านทางเว็บไซต์ ประชากรที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนห้วยมะเกลือวิทยา จำนวน 22 คน ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึกภูมิปัญญาการจักสาน 2. บทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสาน 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ภูมิปัญญาการจักสานบ้านห้วยมะเกลือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 5 อย่าง ได้แก่ 1) ภูมิปัญญาการจักสานกะลา 2) ภูมิปัญญาการจักสานก๋วยสลาก 3) ภูมิปัญญาการจักสานกล่องข้าว 4) ภูมิปัญญาการจักสานไม้กวาดทองคำ 5) ภูมิปัญญาการจักสานไม้กวาดทางมะพร้าว โดยบทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสานควรอยู่ในรูปแบบของแบบฝึกทักษะ 2. บทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสานมีคุณภาพเท่ากับ 4.54 มีประสิทธิภาพแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบภาคสนามเท่ากับ 82.66/82.50 และ 85.78 /85.56 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีค่าผลต่างเท่ากับ 12.78 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 31.95 4.มีการเผยแพร่บทบทเรียนท้องถิ่นภูมิปัญญาการจักสาน บ้านห้วยมะเกลือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ผ่านทางเว็บไซต์ www.banhuaymakluer.com

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

กิตติยา ปลอดแก้ว, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

อาจารย์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

สุชาดา เสมอวงศ์ติ๊บ, โรงเรียนห้วยมะเกลือวิทยา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนห้วยมะเกลือวิทยา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

References

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและ ราชกิจจานุเบกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ. [3] กนิษฐ์กานต์ ปันแก้วและคณะ. (2558). ศูนย์ การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธ์บ้าน จำปุย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

Gay, L.R. & Gallagher, P.D. (1976). The Comparative Effectiveness of test Versus Written Exercise. The Journal of Educational Research. 6(9), 56-61.

Borg, R. Water; & Gall, Meredith Damien.(1989). Educational Research, 3rd ed.NewYork: Longman.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2546). รายงานการ วิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผนการปฏิรูปการ ผลิตและการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากร

ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ส านักงาน [7] กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2525). แม่ลายจัก สาน. กรุงเทพมหานคร:ประยูรวงศ์.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2527).ศิลปหัตถกรรมไทย.กรุงเทพมหานคร: ปาณยา.

วินัย วิริยะปานนท์. (2532). เครื่องจักสานใน ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร :โอเดียนสโตร์.

วิบูลย์ ล้ีสุวรรณ. (2539). เครื่องจักสานในประเทศไทย. พิมพค์ร้ังที่2. กรุงเทพฯ: โอ.เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการ เรียนรู้ศิลปะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 . กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) .ภาคเหนือ. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์บุคส์.

“ความหมายของเว็บไซต์เพื่อการศึกษา”. (2560, 8 กรกฎาคม). ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2560. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ ความหมายของเว็บไซต์.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kent, L. Gustafson and Robert Maribe Branch.(2002) Survey of Instructional Development Models. 4 th ed.United States of America.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์.(2558).การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Flash Professional .มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

วิชชุลดา รักงาม. (2557). ศึกษาการใช้บทเรียน ท้องถิ่นในชุมชนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบองค์รวมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การสอนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.

กนิษฐ์กานต์ ปันแก้วและคณะ. (2560). ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธ์ บ้านจำปุยอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 10 ฉบับที่ 1.144-155.