พฤติกรรมและประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตอบสนองการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ แฟนเพจเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

Main Article Content

นริศรา ไม้เรียง
ธนชาติ จันทร์เวโรจน์

บทคัดย่อ

1นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล
คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม E-mail : narids.m@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ 084-9240810
2ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม E-mail : tanachart.ju@spu.ac.th


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตอบสนองการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขต จักรพงษภูวนารถ โดยใช้วิธีเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติไคสแควร์ของเพียร์สัน (Pearson Chi-square)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18 -19 ปี ศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาการจัดการทั่วไปและสาขาการบัญชี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ แฟนเพจเฟซบุ๊ก ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อศึกษาหาความรู้ โดยเข้าใช้จากสถานศึกษาผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ความถี่ที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 3-5 ครั้ง/วัน เข้าใช้บ่อยที่สุดในช่วงเวลา 16.01-22.00 น. ส่วนใหญ่ชอบกด Share ข้อมูลที่เพจนำเสนอ คิดเป็นร้อยละ 30.70 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ที่ส่งผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แฟนเพจเฟซบุ๊กด้านการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนมากใช้เพื่อค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ในการทำโครงงานด้านการสื่อสารโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนมากใช้ในการติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนทางด้านการเรียนในทุกรายวิชา ด้านเทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนมากใช้ในการศึกษาโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในทุกรายวิชา ด้านความบันเทิงโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนมากใช้ในการดูหนัง ฟังเพลง ด้านการใช้ชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนมากใช้เพื่อค้นคว้าเรื่องข้อควรปฏิบัติที่ถูกต้อง ผลการวิเคราะห์การตอบสนองจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แฟนเพจ เฟซบุ๊ก ด้านความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนมากทำให้นักศึกษามีการช่วยเหลือสังคมและเกื้อกูลระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องมากขึ้น ด้านทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนมากทำให้นักศึกษาสามารถปรับตัวและเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นมากขึ้น ด้านพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนมากทำให้ปฏิบัติตัวดีขึ้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการรูปแบบแฟนเพจเฟซบุ๊ก ด้านลักษณะการใช้งาน อยู่ในระดับมาก ส่วนมากต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านบทความ อยู่ในระดับมาก ส่วนมากคิดว่ามีความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร ด้านกิจกรรม อยู่ในระดับมาก ส่วนมากต้องการเล่นกิจกรรมแจกของ ด้านภาพ/วีดีโอ อยู่ในระดับ ส่วนมากคิดว่า ภาพกับเนื้อหามีความสอดคล้องกัน สื่อความหมายได้ และด้านข้อมูลอื่นๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่คิดว่าปริมาณเนื้อหามีความเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นริศรา ไม้เรียง, คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม

นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ธนชาติ จันทร์เวโรจน์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม

References

งานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน.(2560). ข้อมูลสถิตินักศึกษาประจำปีการศึกษา 2560. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษ ภูวนารถ. กรุงเทพมหานคร

ฉัฐมณฑน์ ตั้งกิจถาวร. (2557). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลที่ถูกแชร์ (Shared) ผ่านเฟสบุ๊ค. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร.

รัชฎาภรณ์ รังสีประเสริฐ. (2552). ทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเล่นเว็บประเภท Social Network Hi5 ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิตา โพธิพิพิธ. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่มีต่อพฤติกรรการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้ใช้บริการเฟสบุ๊คแฟนเพจธุรกิจรับปรึกษาและวางแผนจัดงานแต่งงานในเขตกรุงเทพมหานคร. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยะภา วรรณสมพร. (2556). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาการสื่อสารศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.