การพัฒนาโปรแกรมประเมินอภิมานสำหรับรายงานการประเมินคุณภาพภายใน ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

จิตราวรรณ บุตราช
จุฑามาศ แหนจอน
พงศ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน  เพื่อพัฒนาโปรแกรม  และเพื่อทดลองใช้และหาประสิทธิผลของการพัฒนาโปรแกรมประเมินอภิมานสำหรับรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ดังนี้  1)  แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  2)  แบบสอบถามสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน  3)  แบบสอบถามความเหมาะสมของระบบการประเมินอภิมานการประเมินคุณภาพภายใน  4)  แบบสอบถามระบบการพัฒนาโปรแกรม  และ  5)  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาโปรแกรม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน  (CFA)  และใช้สถิติ คือ 1)  ค่าเฉลี่ย 2)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3)  มัธยฐาน และ 4)  พิสัยระหว่างควอไทล์ ได้ผลการวิจัย  ดังนี้  การศึกษาสภาพการดำเนินงาน  ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการดำเนินการการประกันคุณภาพภายใน  สูงสุด-น้อยสุด  ได้แก่  ด้านการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน  ด้านการเตรียมการประกันคุณภาพภายใน  ด้านการนำผลการประเมินคุณภาพภายในไปใช้ประโยชน์  และด้านการรายงานการประกันคุณภาพภายใน  ตามลำดับ  การพัฒนาโปรแกรมประเมินอภิมานสำหรับรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม  แบ่งออกเป็น  6  ขั้นตอน  ดังนี้  1)  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  2)  ระบบการประเมินคุณภาพภายใน  3)  การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง  SAR  (Self Assessment Report)  และ  4)  โปรแกรมประเมินอภิมานการประเมินคุณภาพภายใน  5)  สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ  และ  6)  สรุปผลการประเมิน  มีความเหมาะสม  ทั้ง  4  ด้าน  ดังนี้  1)  ด้านการออกแบบของโปรแกรม  2)  ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน  3)  ด้านประสิทธิภาพของโปรแกรม  และ  4)  ด้านประโยชน์ที่ได้รับจาการใช้โปรแกรม  อีกทั้งเป็นประโยชน์  มีความถูกต้อง  มีความเป็นไปได้  และมีความเหมาะสม  อยู่ในระดับมากที่สุด ประสิทธิผลของการพัฒนาโปรแกรมประเมินอภิมานสำหรับรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม  มีประสิทธิผล  โดยรวม  อยู่ในระดับมาก  และความพึงพอใจ  โดยรวม  อยู่ในระดับมาก    ข้อเสนอแนะ  ผู้บริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินคุณภาพภายใน  ควรสร้างความรู้ความเข้าใจต่อการประเมินคุณภาพภายในแก่บุคลากร  มีการนิเทศติดตามที่ต่อเนื่อง  และจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมของแต่ละชุมชน  อีกทั้งมีการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาภาคประชารัฐให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จิตราวรรณ บุตราช, คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาวิจัย  วัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

จุฑามาศ แหนจอน, คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์   ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์สาขาวิชาวิจัย  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

พงศ์เทพ จิระโร, คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์สาขาวิชาวิจัย  

References

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กรุงเทพมหานคร : สำนักงานรับรองมาตรฐานและเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

Deming, W. Edwards (1986). Out of the Crisis. MIT Center for Advanced Engineering Study.

Stufflebeam, D.L.(1999). [online] Program evaluation models meta evaluation checklist[online]. Available From:http:// www.wmich.edu/evalctr/checklist/ program evaluation checklist.pdf[2008, January 27].

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. 2555. มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555. หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร.