การจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยหลักธรรมาภิบาล ในยุคไทยแลนด์ 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยมีอัตราการเติบโตโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาครัฐบาลได้ให้ความสำคัญจึงมีการกำหนดนโยบายสนับสนุนให้เอื้อต่อผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย เช่น ธุรกิจบริษัททัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม เป็นต้น เพื่อนำไปสู่มาตรฐานสากล โดยกำหนดแผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยกำหนดแผนท่องเที่ยว 4.0 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจโลก โดยกำหนดนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ ความมั่นคง ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน โดยจากข้อมูลสถิติของนักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยเฉพาะเดือนธันวาคม 2560 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวมีจำนวนสูงสุดถึง 3.5 ล้านคน ส่งผลต่อรายได้ถึง 1.9 แสนล้านบาท ทั้งนี้ในปี 2560 มีนักท่องเที่ยว ชาวต่างขาติเดินทางยังประเทศไทย จำนวน 35,381,210 คน ก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยว 1,824,042 ล้านบาท ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีปัจจัยเกื้อหนุนกล่าวคือ ปัจจัยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยมาตรการด้านภาษี เป็นต้น อีกทั้งรายได้ของธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องส่งผลทำให้มีการขยายการลงทุนทั้งในส่วนของผู้ประกอบการรายใหญ่ การแข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกัน และมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ท้าทายให้ธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องตระหนักและเร่งพัฒนาองค์กร และปรับเปลี่ยนการจัดการธุรกิจ เพื่อรองรับสภาวะการแข่งขันที่มีความรุนแรงในยุค 4.0
ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องนำกลยุทธ์หลักธรรมาภิบาลประยุกต์ใช้กับการจัดการองค์กรเพื่อสร้างมูลค่าและความแตกต่างในธุรกิจ ได้แก่ 1. ความโปร่งใสและความซื่อสัตย์ 2. การวางแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน และ 3. ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญเพื่อพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผล และสร้าง ความยั่งยืนให้กับองค์กร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร.
สุวิทย์ เมษอินทรี. (2560). ไทยแลนด์ 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่. [สืบค้นวันที่ 29 กันยายน 2560].
สำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนา
การท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานแนวโน้มธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธนาคาร
แห่งประเทศไทย.
ประชาชาติธุรกิจ. (2560). แฉกลโกงทัวร์เถื่อน. [สืบค้นวันที่ 29 ธันวาคม 2560]. จาก
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1468049520
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แถลงข่าวสถานการณ์ท่องเที่ยวเดือนธันวาคม ปี 2560.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการ
ท่องเที่ยวในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Anna Bruce-Lockhart. (2560). What do we mean by ‘governance’. Editor, World
Economic Forum.
ประชาชาติธุรกิจ. (2560). โรงแรมแห่ผุด 3 ดาว รับนักท่องเที่ยวระดับกลางโต. ออนไลน์ (วันที่
กรกฎาคม 2560). [สืบค้นวันที่ 01 ตุลาคม 2560]. จาก https://www. prachachat.net/
News_detail.php?newsid=1388741750
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย. (2560). ธุรกิจโรงแรมแข่งขันรุนแรงขึ้น คาดปี 60 รายได้
ธุรกิจโรงแรมขยายตัวร้อยละ 3.7-5.5 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2826). [สืบค้นวันที่
ตุลาคม 2560]. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/K-EconAnalysis/Pages
/ViewSummary.aspx?doci...
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย. (2560). นับถอยหลังเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
…การท่องเที่ยวไทยคึกคัก คาด 4 วัน รายได้ท่องเที่ยวประมาณ 34,150 ล้านบาท
(กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2888). [สืบค้นวันที่ 28 ธันวาคม 2560]. จาก https://www.
kasikornresearch.com/th/k-econAnalysis/pages/ViewSummary.asp?docid=36721
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความ
มั่งคั่ง และยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแล
กิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน. กรุงเทพมหานคร.
สุรภา ไถ้บ้านกวย และอนุรักษ์ ไกรยุทธ. (2560). อิทธิพลของธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการ
ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทย. สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.