แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

อัศม์เดชเดชา ปานท่าไข่
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร  ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่ผ่านการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ระดับดี จำนวน 155 คน  โดยคำนวณกลุ่มตามวิธีของทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 112 คน และคำนวนการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ  โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์


         ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐาน วิสาหกิจชุมชน 268 กลุ่ม พบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับ การประเมินผลอยู่ในระดับดี จำนวน 114 กลุ่ม ระดับปานกลาง จำนวน 117 กลุ่ม และระดับต้องปรับปรุงจำนวน 20 กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนมีความตั้งใจจริงและมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง  พร้อมทั้งมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีในการให้ความรู้และงบประมาณเพื่อการพัฒนา  ส่วนสภาพในการดำเนินงานโดยภาพรวม   อยู่ในระดับมาก  ซึ่งปัญหาในการดำเนินงาน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย  สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสมุทรปราการควรดำเนินการดังนี้ 1) ด้านการวางแผน  จัดทำแผนแม่บทชุมชนทุกตำบล 2) ด้านการจัดโครงสร้างองค์กร ทบทวนผลการดำเนินงานร่วมกับสมาชิก 3) ด้านบริหารงานบุคคล สร้างขวัญกำลังใจ แรงจูงใจในการทำงานร่วมกัน  4) ด้านการตลาด ผลิตสิ้นค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด 5) ด้านการผลิต หน่วยงานภาครัฐเข้ามาส่งเสริมให้ความรู้ด้านการผลิต และ 6) ด้านบัญชี/การเงิน จัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ที่แท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อัศม์เดชเดชา ปานท่าไข่, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคระรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์จันโอชา นายกรัฐมนตรี. แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเจ็ด พ.ศ. 2555-2559, กรุงเทพมหานคร

กัญญามน อินหว่าง และคณะ. (2554). “การจัดการวิสาหกิจชุมชนพิษณุโลก”. มหาวิทยาลัยพิษณุโลกจำกัด.มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ. (2557) .[ออนไลน์]. คู่มือการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559]. จาก URL. http://www.samutprakan.doae.go. th/html/document/handbook57. pdf

นันทิยา หุตานุวัตรและณรงค์ หุตานุวัตร. (2545). “การติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนเมืองและชนบทกรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีศรีสะเกษ ยโสธร”.(อัดสำเนา)” , ยโสธร

จิราพร มหาอินทร์และคณะ. (2554). “การดำเนินงานและการส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายจังหวัดปทุมธานี” สาขาวิชาการตลาด . คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพมหานคร

วิทยา จันทะวงศ์ศรี. (2547). “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” รายงานการศึกษาอิสระปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น