การประเมินอภิมานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินอภิมานและวิเคราะห์กระบวนการประเมินการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล กลุ่มผู้ประเมินคือครู ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรับนักเรียนจำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินการรับนักเรียน ครอบคลุมมาตรฐานการประเมิน
อภิมาน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินอภิมานการรับนักเรียนโดยภาพรวมทุกมาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ในด้านอรรถประโยชน์มากที่สุดคือการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก สถานที่สอบ และห้องสอบอย่างชัดเจน น้อยที่สุดคือการออกแบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนมีเนื้อหาครอบคลุมและตรงกับระดับความรู้ของนักเรียน ด้านความเป็นไปได้มากที่สุดคือโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายและแผนการรับนักเรียนอย่างเหมาะสม
ดีมาก น้อยที่สุดคือการตรวจแบบทดสอบโดยผู้มีประสบการณ์ ความรู้ และตรวจทานมากกว่า 1 ครั้ง
ด้านความเหมาะสม มากที่สุดคือโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนอย่างชัดเจน น้อยที่สุดคือโรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการออกแบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียน และด้านความถูกต้อง มากที่สุดคือโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนอย่างชัดเจนดีมาก น้อยที่สุด คือ แบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นแบทดสอบที่มีมาตรฐานผ่านการรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประเมินที่มีภูมิลำเนา ขนาดโรงเรียนและประเภทของโรงเรียนแตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินอภิมานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2546).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
วิทยากร เชียงกูล.(2549) .[ออนไลน์].รายงานสภาวะการศึกษาไทย 2549/2550 จะแก้ปัญหาและปฏิรูปการศึกษา อย่างเป็นระบบองค์รวมได้อย่างไร .[สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559].
จากhttps://witayakornclub.wordpress. com
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
บุญเอื้อ โสภิณ.(2549).การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการรับนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิตบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ศรีอยุธยา
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม.(2550).การพัฒนา รูปแบบการประเมินหลักสูตร: การประยุกต์ใช้การประเมินอภิมาน ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสารสนเทศ.(2558).สถิติทางการศึกษา ปี 2558.[สืบค้นเมื่อ วันที่15 พฤษภาคม2559].จากhttp://www. bopp- obec.info/home /?page_id=18308
Yamane . (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York : Harper &row.
พงศ์เทพ จิระโร.(2552).การประเมินโครงการพิมพ์ครั้งที่ 2.ชลบุรี:บัณฑิตเอกสาร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แนวทางการดำเนินการรับนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย .
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553).รายงานผลการดำเนินงานรับนักเรียน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศ ไทย จากัด.2553
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น และบัลลังก์ โรหิตเสถียร.(2559).[ออนไลน์].การผลิตครูเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้สู่อนาคตการศึกษาไทย (โดย พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศธ.).[สืบค้นเมื่อ วันที่ 29 กรกฎาคม 2559].จากhttp:// www.moe.go.th/websm/2016/jul/317.
html
อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์ และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์.(2550)."ความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา: เมืองและชนบท". นครปฐม :สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.
อัจฉรีย์ ทิพธนธรณินทร์.(2556).ความเท่าเทียมทางการศึกษารากฐานการพัฒนาการศึกษาไทยสู่สากล.วารสารการเมืองการปกครอง.ปีที่ 3.ฉบับที่ 2.36-50.
ทิวัตถ์ ศรีดํารงค์.(2556).การบริหารสถาน ศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี