การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจด้านจิตวิจัยสำหรับอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจด้านจิตวิจัยสำหรับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ศึกษาวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาการเสริมพลังอำนาจด้านจิตวิจัย (Research mind) สำหรับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 299 คน ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้ทำการทดลองกับมหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ ใบกิจกรรม ขั้นตอนที่ 1 - 6 ในการฝึกปฏิบัติ และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการเสริมพลังอำนาจด้านจิตวิจัย ตามเกณฑ์การประเมินของ Stufflebeam สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเสริมพลังอำนาจด้านจิตวิจัยสำหรับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านทรัพยากร และด้านโอกาส โดยในกระบวนการจะมีการบูรณาการด้านจิตวิจัยในการเสริมพลังอำนาจ ประกอบด้วย การรับรู้ การตอบสนอง การเห็นคุณค่า การจัดระบบคุณค่า และการสร้างลักษณะนิสัยตามค่านิยม สามารถพัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ความเข้าใจมีคุณภาพในผลงานวิจัยมากขึ้นมีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเสริมพลังอำนาจ และช่วยเพิ่มพูนให้เกิดการพัฒนาตนเองด้านการวิจัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สุเมธ แย้มนุ่น. (2547). แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา: ณ โรงแรมสีดารีสอร์ท จังหวัดนครนายก วันที่ 20 ตุลาคม 2547.
Novak, Joseph D;& Gowin D. Bob. (1984). Learning How to Learn. Cambridge University.
จำเรียง เพชรแก้ว. (2553). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสำหรับสถานศึกษาที่ถ่ายโอนจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพวิลย์ ขันธมะ. (2559). สัมภาษณ์โดย อรทัย แก้วทิพย์, วันที่ 21 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1208/1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
สราวุธ ชมบัวทอง. (2559). สัมภาษณ์โดย อรทัย แก้วทิพย์, วันที่ 21 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1208/1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
นุสรา ลาภภูวนารถ. (2559). สัมภาษณ์โดย อรทัย แก้วทิพย์, วันที่ 21 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1208/1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
นิศากร บุตรงามดี. (2559). สัมภาษณ์โดย อรทัย แก้วทิพย์, วันที่ 21 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1208/1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
Krejcie, Robert. V., and Morgan, Earyle W. (1970). Educational and sychological
Measurement, Minnisota University
U.S.A., 608 - 609.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการ ประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์เทพ จิระโร. (2557). หลักการวิจัยทาง การศึกษา. ชลบุรี: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชริน ดำรงกิตติกุล. (2560). รากแก้วแห่งปัญญา : เครือข่ายม.ราชภัฏ ความร่วมมือกับสกว. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560]. จาก http://www.manager.co.th/QOL/View News. aspx?NewsID=47000 0101411.
Keeves J.P. (1988). Educational Research Methodology and Measurement : An International Handbook, Oxford : Perga monPress.