การบูรณาการสะตีมศึกษากับรายวิชาการเตรียมการก่อนการผลิต สำหรับงานโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง

Main Article Content

เกรียงไกร พละสนธิ
พินันทา ฉัตรวัฒนา

บทคัดย่อ

การบูรณาการสะตีมศึกษากับรายวิชาการเตรียมการก่อนการผลิตสำหรับงานโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เป็นการนำหลักการและทฤษฎีแบบสะตีมศึกษาที่ถูกออกแบบและพัฒนามาจากสะเต็มศึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์การเรียนรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ (S)cience วิทยาศาสตร์ (T)echnology เทคโนโลยี (E)ngineering วิศวกรรมศาสตร์ (M)athematics คณิตศาสตร์ ทั้งนี้เมื่อนำหลักการดังกล่าวมาบูรณาการกับรายวิชาการเตรียมการก่อนการผลิตสำหรับงานโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง โดยเนื้อหาของรายวิชานี้มีความจำเป็นในการใช้ศาสตร์ของศิลปะ (A)rt เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเกิดเป็นการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา (STEAM Education) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย กับ 6 ขั้นตอน คือ ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสร้างจินตนาการ  ปัจจัยที่ 2 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแรงจูงใจ และการปฐมนิเทศ ปัจจัยที่ 3 ปัจจัยกระบวนการ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 3 การสร้างการเปลี่ยนแปลง และขั้นตอนที่ 4 การสร้างนวัตกรรม ปัจจัยที่ 4 ผลลัพธ์ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 5 การประเมิน และขั้นตอนที่ 6 ผลป้อนกลับ การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการดังกล่าวเน้นให้ผู้เรียนเป็นนักปฏิบัติอย่างมืออาชีพในยุคการศึกษา 4.0 และมีความสามารถในการใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

เกรียงไกร พละสนธิ , สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

อาจารย์ประจำ สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

พินันทา ฉัตรวัฒนา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

สาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง. (2559). หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

Terri Purcell. (2015). “Fly Up, Up & Away with STEAM Education This Summer.” USA : Children's Museum of Illinois.

คณะกรรมการโครงการ “สะเต็มศึกษา”. (มปป.).

“สะเต็มศึกษา” (STEM Education). กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). หลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา.กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). [ออนไลน์].

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา กระ บวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2559]. จาก http://www. krusmart.com/stem-approach/.

สำนักแผนและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559).

[ออนไลน์]. แนวทางการดำเนินงานด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2559] จากhttp://www.ptu.ac.th/quality/data/ levyp1.pdf

นรีรัตน์ สร้อยศรี. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชาการเตรีวมการก่อนการผลิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2556). [ออนไลน์]. ศิลปะ Arts. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559] จาก http://taamkru.com