ความพึงพอใจของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ในการเรียนสาขางานอาหารและโภชนาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาศึกษาสุพรรณบุรี ที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรีในการเรียน สาขางานอาหารและโภชนาการ และ3) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ในการเรียนสาขางานอาหารและโภชนาการ จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ซึ่งผู้ศึกษาเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) โดยกำหนดเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 และ ชั้นปีที่ 3 สาขางานอาหารและโภชนาการ จำนวน 78 คน และนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ จำนวน 26 คน รวมเป็นทั้งหมด 104 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในการเรียนสาขางานอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ อยู่ในระดับมาก ส่วนการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ในการเรียนสาขางานอาหารและโภชนาการ จำแนกตามเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว โดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับชั้นปีที่ศึกษา และอาชีพของผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในการเรียนสาขางานอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี โดยภาพรวม และรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี.(2559). วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. [ออนไลน์] เข้าถึงจาก: http://www.spvc.ac.th/, 4 มีนาคม 2559.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2551). การวิจัยและวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
จารุวรรณ เทวกุล.(2555). ศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรมชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. สารนิพนธ์. กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครนทรวิโรฒ, (อัดสำเนา).
กนกรส วงษ์เล็ก. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.
รุ้งเพชร ดอกบัว. (2554).การศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พนัส หันนาคินทร์. (2524). หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.
สมเกียรติ วิเชียรวิลาวัณย์. (2550). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการบริหาร จัดการหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยาและมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ทั่วไป.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
นรินทร์ ภักดี.(2550). ความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาสายวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษา โรงเรียน อาชีวศึกษาเอกชน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1.
ธรณิศวร์ จิตขวัญ. (2542).ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา สาขาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.