การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับเรนเดอร์งานแอนิเมชัน 3 มิติ

Main Article Content

ทรงชัย อุบลเผื่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับเรนเดอร์งานในโปรแกรมมายา (Maya) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรมประยุกต์สำหรับเรนเดอร์งานในโปรแกรมมายา (Maya) โดยกลุ่มเป้าหมายในงานวิจัย คือ 4 บริษัทที่รับผลิตงานแอนิเมชันในประเทศไทย โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยคัดเลือกจากผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงในส่วนของเรนเดอร์ (Render) ได้แก่ บริษัท Big Brain Pictures, บริษัท Digiforest VFX, บริษัท Kantana Post Production, และบริษัท Kantana Animation Studios รวมทั้งสิ้น 15 บุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจคือ 1) โปรแกรมประยุกต์สำหรับเรนเดอร์งานในโปรแกรมมายา 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรมประยุกต์สำหรับเรนเดอร์งานในโปรแกรมมายา ซึ่งผู้วิจัยได้นำทฤษฎีวงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle: PDLC) โดยใช้ Mel Script Editor ในโปรแกรมมายา (Maya) พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ขึ้นมา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรมประยุกต์สำหรับเรนเดอร์งานในโปรแกรมมายา มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.42 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจที่มาก ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำในการเรนเดอร์ และช่วยลดเวลาในการทำงานลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ทรงชัย อุบลเผื่อน, บริษัทกันตนาแอนิเมชัน

CG supervisor Visual effects บริษัทกันตนาแอนิเมชัน

References

กัลย์สุดา ชูเวทย์. (2553). ครีเอทีฟ แอนิเมชัน สตูดิโอ. กรุงเทพมหานคร : สถาปัตยกรรม ศาสตรบัณฑิต. ภาควิชาสถาปัตยกรรมหลัก. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

Anime International Co,Inc.(AIC). (1982). Introduction of Anime Production. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560]. จากhttp://www.aicanime.com/ introanime/index.html.

Kompin Kemgumnird. (2559). Interview. Maketing director. (Thailand).

Anilephant Studio Co,.Ltd.

Bryan Pfaffenberger (2002). Computers in Your Future. Prentice Hall, New Jersey.

อํานาจ ไพนุชิต. (2539). “การเปรียบเทียบคุณสมบัติของคะแนนที่ได้จากมาตรวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท ด้วยวิธีการให้คะแนนแบบดั้งเดิมแบบอาร์เอสและแบบดีเอสเอ็ม.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุรีวิยาสาส์น.

ชาญคณิต โพธิ์ถาวร. (2554). การจัดแสงในงานแอนิเมชัน 3 มิติ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะดิจิทัลอาร์ต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

สราวุธ สุโทวา. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพการเรนเดอร์กราฟิก 3 มิติในชุดซอฟต์แวร์มายา. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตภาควิชาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการสารสนเทศ. มหาวิทยา ลัยมหาสารคาม