การประเมินโครงการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2

Main Article Content

ศิวพร นววงศานันต์
ประชา อินัง
พงศ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนา และความช่วยเหลือนักเรียน
เพื่อประเมินผลการเรียนรู้  พฤติกรรมการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักเรียนและการศึกษาความพึงพอใจต่อโครงการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่ 1) ครู 300 คน ผู้บริหารโรงเรียน 125 คน  2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 272 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย มีแบบสัมภาษณ์  แบบทดสอบก่อน-หลังการเข้าร่วมโครงการฯ แบบสังเกตพฤติกรรมการดำเนินงาน   ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการฯ ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการในการพัฒนา และความช่วยเหลือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าควรจัดครูให้สอนตรงตามความถนัดในแต่ละรายวิชาและใช้เวลาให้เหมาะสมมีเวลาทบทวนความรู้หลังเรียน 10 นาที  พร้อมทั้งควรเตรียมสื่อการสอนที่หลากหลายและเพียงพอกับนักเรียน  คะแนนจากการทดสอบภายหลังโครงการ สูงกว่า ก่อนเข้าโครงการฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการประเมินพฤติกรรมของนักเรียนในการประเมินผลการเรียนรู้จากก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน  พบว่าโดยภาพรวมมีพฤติกรรมทุกด้านในระดับทำเป็นประจำ  การประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)ในปี 2558 สูงกว่า ปี 2557 แต่เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนรวม ปี 2558 พบว่า ผลรวมเฉลี่ยคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ยังไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ  ความพึงพอใจต่อโครงการ พบว่า รายด้านและโดยรวมทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิวพร นววงศานันต์, คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  

ประชา อินัง , ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา    

อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา    

พงศ์เทพ จิระโร, ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (2557). รายงานการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

(O-NET).เอกสารวิชาการที่ 4/2557.

Yamane.(1967).Taro Statistic : An

Introductory Analysis. New York : Harper &row.

พงศ์เทพ จิระโร.(2552).การประเมินโครงการพิมพ์ครั้งที่ 2.ชลบุรี:บัณฑิตเอกสาร.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2556). การวิเคราะห์และสังเคราะห์กลยุทธ์การนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน:พหุกรณีศึกษา โรงเรียน

ที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับดี.

ทุนสนับสนุนจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สุริยา เหมตะศิลปะ. (2550). งานวิจัยเครือข่ายวิจัยการศึกษา ภาคใต้ตอนล่าง ปี 2550 :

กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยเครือข่ายวิจัย : การยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยเครือข่ายการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและเสริมพลังอำนาจ กรณีเครือข่ายวิจัยภาคใต้ตอนล่าง. สาขาวิชาการประเมินผลและวิจัย.คณะศึกษาศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สมคิด พรมจุ้ย และคณะ. (2554). เอกสารการสอนชุด การประเมินโครงการ หน่วยที่ 1 -7.

นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดารารัตน์ จันทร์กาย.(2557).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.