การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0

Main Article Content

สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบที่สามารถนำไปบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยศึกษาวิเคราะห์เอกสารและใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม จำนวน 350 คน ในวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 325 แห่ง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ วิเคราะห์เส้นทางหรือวิเคราะห์สาเหตุแบบ PAL (Path Analysis with LISREL) ของแต่องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80 ยกร่างรูปแบบ โดยการสัมภาษณ์ ตรวจสอบรูปแบบโดยการจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และประเมินรูปแบบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาและปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ตามกรอบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบทการอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม 4.0 2) ด้านปัจจัยป้อนคุณลักษณะผู้บริหาร 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลิตผลความสำเร็จของการบริหาร


รูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0  ที่ได้พัฒนาขึ้นมี 9 รูปแบบดังนี้ 1) การพัฒนาบริบทการอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม 4.0 2) การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหาร 3) การกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ สู่ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 4) บริหารจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ 5) การออกแบบงาน โครงการ ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 6) ปรับปรุงโครงสร้างให้รองรับการเปลี่ยนแปลง 7) การพัฒนากระบวนการบริหารภายในสถานศึกษา 8) การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นผู้นำ 4.0 และ 9) มุ่งสู่ความสำเร็จในการบริหาร 


ผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0  มีความเป็นไปได้มากที่สุด รองลงมาคือ ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว

ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม 

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อน ประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ : พริกหวาน กราฟฟิค.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. (2559). [ออนไลน์]. สถิติข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ปีการศึกษา 2559. สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559 ]. จากhttp://techno. vec. go.th/Default.aspx?

tabid=659.

Stufflebeam, D. L., and Shinkfield, A.J. (2007). Evalution theory, models, and applications San Francisco: Jossey-Bass.

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น. (2559). ผลการสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย (มีนาคม 2559) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency - JICA) (อัดสำเนา)

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). ผู้บริหารแห่งอนาคต Executive of the Future. กรุงเทพมหานคร.ฐานบุ๊คส์.

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (อัดสำเนา)

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2558). [ออนไลน์]. โมเดลประเทศไทย4.0 ผลึกความคิด‘สุวิทย์ เมษินทรีย์.’ฐานเศรษฐกิจ. [สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2560 ]. จาก http://www.thansettakij.com /content/9309.

Guzman, M.R. De. (1989). Pasture Production Under Coconut Palms. Taipei: fertilizer Technology.Chaina.

จีระพงษ์ หอมสุวรรณ. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

วิทยานิพนธ์ กศ.ด. สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.

พุทธชาด ศุภลักษณ์. (2558). [ออนไลน์]. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอาชีวศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.[สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560 ]. จากhttp://civec.vec.go.th/default.aspx.

พิทยา ชินะจิตพันธุ์. (2553). รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. สาขาช่างอุตสาหกรรม วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.