การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่เหมาะสมกับประเภท วิชาช่างอุตสาหกรรมโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

ไพฑูรย์ สังข์สวัสดิ์
พงศ์เทพ จิระโร
สมศักดิ์ ลิลา
สมศักดิ์ ลิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และเพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารสถานประกอบการ  ครูฝึกในสถานประกอบการ  หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และนักศึกษา จำนวน 1,005 คน จากสถานศึกษา จำนวน 201 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม คู่มือการสนทนากลุ่ม (Focus groups) แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำเป็นรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ  ด้านบุคลากร  ด้านหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ  และผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบตามมาตรฐาน ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง ทุกมาตรฐานมีผลประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ไพฑูรย์ สังข์สวัสดิ์, ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 

พงศ์เทพ จิระโร, ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 

สมศักดิ์ ลิลา

อาจารย์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 

สมศักดิ์ ลิลา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

ปาริฉัตร จันโทริ. (2555). การศึกษาระบบทวิภาคีทางออกของปัญหาแรงงานไทย.วารสารบริหารธุรกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 135 กรกฎาคม - กันยายน 2555. 29-30.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไข เพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องของพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.)

. พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551,ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม125 ตอนที 6 43 ก.หน้า 3.

ชนะ กสิภาร์. (2523). แนวทางในการจัดการเรียนการสอนช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จำปี อู่เงิน. (2541). ปัญหาการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิคภาคเหนือ ตามหลักสูตรปวช. 2538. แพร่ : วิทยาลัยเทคนิคแพร่.

. Kemmis, S., & McTaggart, R. (2000).Participatory action research. In N.Denzin and Y. Lincoln (Eds.), The Handbook of Qualitative Research

(2nd ed.). London: Sage.

พงศ์เทพ จิระโร. (2546). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสำหรับการศึกษา เฉพาะทางของกองทัพเรือ. วิทยานิพนธ์ ค.ด. การวัดและประเมินผลการศึกษา. คณะครุ

ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Stufflebeam, D., & Shinkfield, A. (2007). Evaluation theory, models, and applications. San Francisco: Jossey-

Bass.

อนันต์ งามสะอาด. (2549). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีด้วยหลักการมีส่วน ร่วม: กรณีวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. วิทยานิพนธ์ ค.ด. การบริหารการศึกษา.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.