รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีด้วยสื่อสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีด้วยสื่อสังคมออนไลน์ การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ ตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน ADDIE Model และประเมินประสิทธิภาพรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 หาประสิทธิผลรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ โดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียน โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 40 คน เลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานพัฒนาทักษะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กลุ่มสมาชิก 2) เป้าหมาย 3) สาระความรู้ 4) เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ 5) กิจกรรมการเรียนรู้ ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีด้วยสื่อสังคมออนไลน์ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558) . แนวทางการจัดกิจกรรมเรียนรู้ “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554- 2563 ของประเทศไทย ICT 2020. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักวิชาการมาตรฐานการศึกษา. (2551).[ออนไลน์].ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559] จาก http://rpg29.ssk.in.th/tech.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักมาตรฐานและพัฒนาการเรียนรู้.
ชุลีกร พินธิระ, ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญและวรางคณา โตโพธิ์ไทย. (2559). แบบจำลองการเรียนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์วิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5.
อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน์. (2558) การเปรียบเทียบผลการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์และสื่อชุมชน ของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาประชามติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3. หน้า 81-91.
Safran, C. (2010). Social Media in Education. Thesis for the Award of the Academic Degree of a Doctor of Technology, Graz University of Technology.
ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์. (2555) การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจจากการใช้เว็บเครือข่ายสังคม เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1. หน้า 142-152.