เจดีย์แบบศิลปะลังกาในจิตรกรรมหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร: ข้อสังเกตเบื้องต้นด้านที่มา และรูปแบบศิลปกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มา และรูปแบบของภาพเจดีย์ที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังภายในหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นจิตรกรรมที่เขียนขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 4-5 ในธรรมยุติกนิกาย
ผลการศึกษาพบว่า ผนังส่วนเหนือขอบหน้าต่างด้านทิศเหนือเขียนภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในลังกาได้ปรากฏภาพเจดีย์ทรงกลม 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 คือ เจดีย์ทรงกลมที่มีชุดฐานในผังทรงกลมฐานเตี้ย มีลักษณะเด่นที่มีทรงโอคว่ำ (ตำแหน่งเดียวกับองค์ระฆังของเจดีย์ทรงกลมในศิลปะไทย) ครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ ซึ่งมีรูปแบบที่สอดคล้องกับเจดีย์ทรงกลมในศิลปะลังกาที่นิยมสร้างเจดีย์ทรงกลมที่มีชุดฐานในผังกลม มีจุดเด่นที่มีทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ อันเป็นรูปแบบที่นิยมสืบเนื่องอย่างยาวนานในศิลปะลังกา ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ ปรากฏภาพเจดีย์ทรงกลมในผัง และชุดฐานกลม มีชุดฐาน และส่วนกลางของเจดีย์สูงกว่าแบบที่ 1 แต่ก็พบว่าเป็นรูปแบบที่คล้ายกับเจดีย์ทรงกลมรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏในศิลปะลังกา สมัยแคนดี เจดีย์ทรงกลมทั้ง 2 แบบนับว่าต่างจากเจดีย์ทรงกลมที่มักพบทั่วไปในจิตรกรรมฝาผนังของวัดกลุ่มธรรมยุติกนิกายที่มักจะเป็นภาพเจดีย์ทรงกลมแบบที่มีชุดฐานสูง และองค์ระฆังที่เพรียวตามแบบเจดีย์ทรงกลมที่นิยมสร้างกันในศิลปะไทย
ผลการศึกษาปรากฏชัดเจนว่าภาพเจดีย์ทรงกลมในจิตรกรรมหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหารต่างจากภาพเจดีย์ทรงกลมที่พบได้ทั่วไปในจิตรกรรมของธรรมยุติกนิกายที่มักแสดงภาพด้วยเจดีย์ทรงกลมตามแบบศิลปะไทย แต่ภาพเจดีย์ทรงกลมในจิตรกรรมในหอพระไตรปฎก วัดบวรนิเวศวิหาร คือ ภาพเจดีย์ทรงกลมตามแบบศิลปะลังกา
Article Details
References
ชลทิศ สว่างจิตร. (2535). การศึกษาภาพจิตรกรรมไทยในหอไตร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร (กรณีเฉพาะจิตรกรรมระหว่างช่องหน้าต่าง). สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2553). เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป. กรุงเทพมหานคร: คณะสงฆ์วัดสุวรรารามพิมพ์เนื่องในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน).
ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, เจ้าพระยา. (2548). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ธัชชัย ยอดพิชัย. (2554). หอพระไตรปิฎกวัดบวรนิเวศวิหาร: อาคารเล็ก ๆ แต่มีจิตรกรรม “ประวัติคณะธรรมยุต” สมัยรัชกาลที่ 3. ศิลปวัฒนธรรม. 32 (4), 120-133.
น.ณ ปากน้ำ. (2529). ความเป็นมาของสถูปเจดีย์ในสยามประเทศ. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
ปรีชา นุ่นสุข. (2541). ศิลปะลังกา. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
ปวเรศวริยาลงกรณ์, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (2505). เรื่องราชประวัติในรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่แรกทรงพระผนวชตลอดสวรรคาลัย. พระราชประวัติ และพระราชนิพนธ์บางเรื่องในพระบาทสมเด็จพระเจ้าเกล้าเจ้าอยู่. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.
พิชญา สุ่มจินดา. (2557). สถูปจำลองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ปราค์วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ภาพสะท้อนพุทธศาสนาลังกาวงศ์สมัยต้นอยุธยา ใน ประวัติศาสตร์ศิลปะบันดาลใจ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์.
พิชญา สุ่มจินดา. (2565). ถอดรหัสพระจอมเกล้า. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
พิริยะ ไกรฤกษ์. (2544). อารยธรรมไทยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2555). ความสัมพันธ์ทางพุทธศาสน์และพุทธศิลป์ระหว่างศรีลังกา พม่า และไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2556). พุทธศิลป์ลังกา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2563). พุทธศิลป์ไทยสายสัมพันธ์กับศรีลังกา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. (ไม่ทราบวันเดือนปีที่เผยแพร่). ฐานข้อมูลภาพ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. สืบค้นเมื่อ 28 ธัวาคม 2558. จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/supatlib/index.php?topic=picture.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2504). สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 22. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
สมศักดิ์ แตงพันธ์. (2551). การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง วัดบวรนิเวศวิหาร ราขวรวิหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. (2550). ศัทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.
สุรชัย จงจิตงาม. (2559). แนวคิดพุทธศาสนาในจิตรกรรมฝาผนังของวัดสายธรรมยุติ. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.