บทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วินิจ ผาเจริญ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สถาพร แสงสุโพธิ์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นนท์ น้าประทานสุข วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

บทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่น, การเสริมสร้างความเข้มแข็ง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคบทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน วิธีการดำเนินการวิจัยโดยการรวบรวมข้อมูลจากภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้นำชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทั้งบทบาทด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม บทบาทดังกล่าว สามารถที่จะแก้ไขปัญหาการว่างงาน ปัญหายาเสพติด รวมทั้งเกิดการรวมกลุ่มสามารถสร้างอาชีพและเกิดรายได้ในชุมชน โดยการให้ชุมชนตัดสินใจแก้ไขปัญหาและจัดการกับปัญหาด้วยพลังของคนในชุมชน ตลอดจนบทบาทการอนุรักษ์และส่งเสริมสนับสนุนโดยการให้คุณค่าและความสำคัญกับหลักปฏิบัติศาสนกิจและวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งสะท้อนออกในด้านภาษา ศาสนา การแต่งกาย และกิจกรรมประเพณีต่างๆ 2) ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำชุมชนพบว่า ผู้นำชุมชนท้องถิ่นจะพบปัญหาอุปสรรคขัดขวางในการดำเนินการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคือขาดความสามัคคีร่วมมือจากคนในชุมชน ขาดแรงสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะด้านงบประมาณไม่เพียงพอ ทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัวและไม่ต่อเนื่อง 3) สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ผู้นำชุมชนต้องสร้างกระบวนการร่วมมือจากประชาชนและภาครัฐให้มากขึ้น รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอในการดำเนินงานและควรส่งเสริมการรวมกลุ่มการประกอบอาชีพของกลุ่มให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้ประชาชนในชุมชนมีงานทำและมีรายได้ที่พอเพียง

References

แก้วสรร อติโพธิ. (2540). การมีส่วนร่วมของประชาชน: กุญแจดอกสำคัญในการพัฒนาระบบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2541). ประชาคมตำบล. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2565). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยการดำเนินงานอย่างบูรณาการ. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด

เอมอร แสนภูวา. (2560). บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพัฒนาสังคม,19 (2),37-52

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-17