Journal Information
พระครูชลธารพิทักษ์
รูปแบบการเขียนบทความ
การเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ |
วารสารสันติสุขปริทรรศน์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ จำนวน 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ โดยผู้เขียนจะต้องสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ |
1. บทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 25% |
2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร |
3. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ |
4. ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ) |
** โดยชำระเงินที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาดอยสะเก็ด |
หมายเลขบัญชี: 020224914281 |
ชื่อบัญชี: วารสารสันติสุขปริทรรศน์ |
เมื่อชำระแล้วให้ส่งสลิปการโอนเงินและแจ้งชื่อ-สกุล มาที่ E-mail: jppsantisuk.journal@gmail.com |
รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ |
ผู้นิพนธ์ที่ส่งบทความมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารสันติสุขปริทรรศน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้นิพนธ์บทความจะต้องยินยอมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ บทความวิจารณ์หนังสือ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารสันติสุขปริทรรศน์ อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงในเนื้อหาและอ้างอิงในท้ายบทความ (References) ต้องเป็นตามหลักเกณฑ์ของวารสารในรูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตาม APA Style 6th edition ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฎในบทความวารสารสันติสุขปริทรรศน์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกรองบรรณาธิการวารสารสันติสุขปริทรรศน์ รวมทั้งผู้นิพนธ์จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCatch ในระบบของ ThaiJo ไม่เกิน 25% ผู้นิพนธ์ประสงค์จะตีพิมพ์บทความต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของวารสารดังนี้ |
1. ผู้เขียนต้องศึกษารูปแบบและตรวจสอบการเขียนบทความให้ตรงตามรูปแบบของวารสาร |
2. ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น |
3. กระดาษ A4 มีความยาวระหว่าง 10-15 หน้า (รวมหน้าเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาดอักษร 16 pt. ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ขอบบน – ล่าง ขอบขวา - ซ้าย เท่ากันทุกด้าน ด้านละ 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และย่อหน้า 7 เคาะ |
4. การนำเสนอรูปภาพและตารางต้องมีความชัดเจนและชื่อกำกับใต้ภาพไว้ด้านล้าง พิมพ์เป็นตัวธรรมดา ขนาด 14 pt. เช่น ตารางที่ หรือ Table และภาพ หรือ Figure และโมเดล หรือ Model รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้ ซึ่งเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับโดยต้องมีคำอธิบายกระซับและสอดคล้องกับรูปที่นำเสนอ |
5. ชื่อเรื่อง ต้องมีภาษาไทย (TH Sarabun PSK ขนาด 18 pt. ตัวหนา) และภาษาอังกฤษ (TH Sarabun PSK ขนาด 18 pt. ตัวหนา) พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง |
6. ชื่อผู้นิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (16 pt.) ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า นาย/นาง/นางสาว/ยศตำแหน่ง (ยกเว้นกรณีเป็นพระภิกษุ) พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบขวา และใช้ตัวเลขยกกำกับหน้าชื่อผู้เขียนแสดงชื่อหน่วยงาน กรณีมีผู้ร่วมเขียน 2 คนขึ้นไป สังกัดสถาบันเดียวกัน ให้แสดงเพียง 1 หมายเลขเท่านั้น แต่หากผู้ร่วมเขียนมาจากหลายสถาบันให้ระบุหมายเลขยกกำกับ หน้าชื่อ 1 2 3 ตามลำดับ |
7. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 350 คำ |
8. กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 3 -5 คำ |
9. การใช้ตัวเลขต้องใช้ตัวเลขอารบิกเท่านั้น |
10. สามารถส่งบทความเข้าระบบ ThaiJo ในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของวารสารสันติสุขปริทรรศน์ ได้ที่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/index |
ส่วนการเตรียมต้นฉบับในบทความมีเนื้อหาแต่ละประเภทมีการเรียงลำดับ ดังนี้ |
บทความวิจัย ให้เรียงลำดับ ดังนี้ |
1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ 2. บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์การวิจัย ประเภทของงานวิจัย การระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยและองค์ความรู้จากการวิจัย โดยสรุปให้สั้นและกระชับความ |
3. บทนำ (Introduction) ระบุเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหา |
4. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับข้อ |
5. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ระบุแผนการวิจัย กลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล |
6. สรุปผลการวิจัย (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิก็ได้ |
7. อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด พร้อมระบุองค์ความรู้จากการวิจัย |
8. องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge) เป็นนำเสนอผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากงานวิจัย สามารถนำเสนอรูปแบบของการเขียนความเรียง หรือโมเดลพร้อมคำอธิบายที่กระชับ เข้าใจง่าย |
9. สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and suggestion) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป |
10. เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาบทความเท่านั้น โดยใช้การอ้างอิงระบบ APA |
บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับ ดังนี้ |
1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ 2. บทคัดย่อ (Abstract) |
3. บทนำ (Introduction) |
4. เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับและระบุองค์ความรู้ใหม่ |
5. สรุป (Conclusion) |
6. องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge) |
7. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA |
บทความปริทรรศน์ (Review Article) ให้เรียงลำดับ ดังนี้ |
1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ 2. บทคัดย่อ (Abstract) |
3. บทนำ (Introduction) |
4. เนื้อเรื่อง (Content) |
5. บทวิจารณ์ (Discussion) |
6. สรุป (Conclusion) |
7. องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge) |
8. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA |
บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ให้เรียงลำดับ ดังนี้ |
1. ชื่อบทวิจารณ์หนังสือ เขียนโดย, สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์, จำนวนหน้า อย่างชัดเจน 2. บทนำ (Introduction) |
3. เนื้อหา (Content) |
4. บทวิจารณ์ (Discussion) |
5. สรุป (Conclusion) |
6. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA |
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ตามหลักเกณฑ์ APA |
1. หนังสือ |
(ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) |
ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่งชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม และ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ, 2560) |
(Pharcharuen, 2017) |
ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ และสุรพล พรมกุล, 2560) |
(Pharcharuen and Phromkun, 2017) |
ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ, สุรพล พรมกุล และสุรชัย พุดชู, 2560) |
(Phacharuen, Phromkun and Phutchu, 2017) |
ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญและคณะ, 2561) |
(Pharcharuen, et al., 2018) |
2. วารสาร |
(ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) |
ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่งชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม และ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ, 2560) |
(Pharcharuen, 2018) |
ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ และสุรพล พรมกุล, 2560) |
(Pharcharuen and Phromkun, 2017) |
ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ, สุรพล พรมกุล และสุรชัย พุดชู, 2560) |
(Pharcharuen, Phromkun and Phutchu, 2017) |
ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญและคณะ, 2561) |
(Pharcharuen, et al., 2017) |
3. วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย |
(ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) |
ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่งชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม และ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล |
ตัวอย่างเช่น (วินิจ ผาเจริญ, 2560) |
(Pharcharuen, 2007) |
ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ และสุรพล พรมกุล, 2560) |
(Pharcharuen and Phromkun, 2017) |
ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ, สุรพล พรมกุล และสุรชัย พุดชู, 2560) |
(Pharcharuen, Phromkun and Phutchu, 2017) |
ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญและคณะ, 2560) |
(Pharcharuen, et al., 2017) |
4. สัมภาษณ์ |
(ผู้แต่ง, วันที่สัมภาษณ์) |
ผู้ให้สัมภาษณ์ ให้ระบุชื่อและนามสกุลโดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม |
ตัวอย่างเช่น (วินิจ ผาเจริญ, 11 สิงหาคม 2560) |
(Sirinthip Pharcharuen, Interview, August 11 2017) |
5. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ |
(ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) |
ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่งชาวไทยให้ระบุชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม และ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล |
ตัวอย่างเช่น (วินิจ ผาเจริญ, 2560) |
(Pharcharuen, 2017) |
ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ และสุรพล พรมกุล, 2560) |
(Pharcharuen and Phromkun, 2017) |
ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญ, สุรพล พรมกุล และสุรชัย พุดชู, 2560) |
(Pharcharuen, Phromkun and Phutchu, 2017) |
ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ |
ตัวอย่างเช่น (ศิรินทิพย์ ผาเจริญและคณะ, 2560) |
(Pharcharuen, et al., 2017) |
การอ้างอิงท้ายบทความ ตามหลักเกณฑ์ APA |
หมายเหตุ: 1. ผู้แต่งชาวไทยให้ใส่ชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ ยกเว้นราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ ให้นำไปใส่ท้ายชื่อ โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อกับราชทินนามและฐานนันดรศักดิ์ ส่วนสมณศักดิ์ให้คงรูปตามเดิม |
2. กรณีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อทั้งสองคนตามลำดับที่ปรากฏ เชื่อมด้วยคำว่า “และ” สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้เครื่องหมาย “&” สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ระหว่างคนที่ 1 และคนที่ 2 โดยเว้น 1 ระยะก่อนและหลัง |
3. ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น โดยเว้น 1 ระยะ และอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี) ทั้งนี้การกลับชื่อสกุลให้ใช้ตามความนิยมของคนในชาตินั้น โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อสกุลและอักษรย่อชื่อต้น อักษรย่อชื่อกลาง หากกรณีที่ผู้แต่งมีคำต่อท้าย เช่น Jr. หรือคำอื่น ๆ ให้ใส่คำดังกล่าวต่อท้ายอักษรย่อชื่อต้น หรือ อักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี) โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาพ |
4. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน ให้ลงรายการโดยเรียงลำดับจากหน่วยงานใหญ่ไปหาหน่วยงานย่อย และเว้นวรรคจากชื่อหน่วยงานใหญ่ไปหาชื่อหน่วยงานย่อย |
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ APA Style 6th edition เช่น APA Formatting and Style Guide. From http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/560/01/American Psychological Association (APA) 6th edition style Examples. From www.lib.monash.edu.au/tutorials/citing/ apa-a4.pdf |
วิธีเรียงอ้างอิง การเรียงอ้างอิงใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ Dictionary ที่เป็นสากล โดยคำที่มีสะกดจัดเรียงไว้ก่อนคำที่มีรูปสระตามลำดับตั้งแต่ กก - กฮ ดังนี้ |
ก ข ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ฤา ล ฦ ฦา ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ |
ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน เรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้ |
อะ อัว อัวะ อา อำ อิ อี อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ |
วารสารสันติสุขปริทรรศน์
Journal of Peace Periscope
สำนักงานวัดแม่ฮ่องไคร้ เลขที่ 9 หมู่ที่ 8 ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 50220
โทร. 093-241-9191