การเสริมสร้างเจตคติสู่การเกิดค่านิยมทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • พัชรีญา ฟองจันตา วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เจตคติ, ค่านิยมทางการเมือง, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดในการเสริมสร้างเจตคติสู่การเกิดค่านิยมทางการเมืองเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเจตคติที่ดีจนกลายเป็นค่านิยมทางการเมืองที่ยั่งยืน ซึ่งมีที่มาจากการที่คนในสังคมมีมุมมองความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ที่แตกต่างกันที่ทำให้เกิดการประพฤติและปฏิบัติตามความเชื่อนั้น อาจเป็นที่มาของการเกิดความร่วมมือที่ดีหรือก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมก็ได้ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบการเมือง กฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง จะช่วยให้คนมีพื้นฐานความรู้ที่ดี ส่งเสริมการตัดสินใจทางการเมืองอย่างมีเหตุผล กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย การสร้างความรู้และความเข้าใจทางการเมืองเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมประสบการณ์ผ่านการมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดความรู้สึกเชื่อมโยงกับสังคมและสร้างเจตคติที่สนับสนุนความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่พลเมือง การเปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เสริมคุณธรรมในการแสดงออกทางการเมืองช่วยให้การแสดงออกทางการเมืองเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์ การจัดการกับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ทำให้เกิดความร่วมมือและเคารพซึ่งกันและกัน มีปัจจัยสำคัญอยู่ 3 ส่วนด้วยกันที่ทำให้เกิดกระบวนการในการเกิดค่านิยมทางการเมืองคือ “เข้าใจ สำนึก นำปฏิบัติ” เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดค่านิยมทางการเมืองตั้งแต่รับรู้อย่างจนนำไปสู่การเกิดจิตสำนึกประชาธิปไตยและนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่แท้จริง

References

เกรียงศักดิ์ ราชโคตร์. (2552). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2543). พื้นฐานรัฐศาสตร์กับการเมืองในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คะนอง พิลุน, จุฬาภรณ์ ศิลาอาสน์, เบญจพร ประจง และวงธรรม สรณะ. (2554). การศึกษาระดับของค่านิยมประชาธิปไตยของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์. (รายงานการวิจัย). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธวัช ไชยสิทธิ์. (2566). ทัศนคติทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของนักเรียนโรงเรียนนายสิบทหารบก. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

เนตรภัทร อ่วมเครือ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(2), 37-51.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). ทัศนคติของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

ไพฑูรย์ มาเมือง. (2565). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(7), 1-9.

ใยอนงค์ ทิมสุวรรณ. (2558). ประชาธิปไตยกับบทบาทสถานศึกษาและชุมชนในการพัฒนาส่งเสริมอัตลักษณ์วิถีไทย. วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2538). การเมือง: แนวคิดและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอส แอนดิ้ว กราฟฟิค.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2559). ประชาธิปไตยในวิถีไทย ความเข้าใจเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่สังคมสุขภาวะ. นครปฐม: หยิน หยาง การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างสำนึกความเป็นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). ระบบงานรัฐสภา. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุนทรีโคมิน และสนิท สมัครการ. (2522). ค่านิยมและระบบค่านิยมไทย: เครื่องมือในการวัดแลสำรวจ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อมร รักษาสัตย์ และคณะ. (2543). ประชาธิปไตย: อุดมการณ์ หลักการและแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมร รักษาสัตย์. (2543). ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน คู่มือการเรียนการสอนการเผยแพร่และการมีส่วนร่วมสำหรับครูอาจารย์ และผู้นําชุมชน. กรุงเทพฯ: การันต์การพิมพ์.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Reading MA: Addison-Wesley.

Thurstone, T. G., & Thurstone, L. L. (1946). Tests of primary mental abilities, for ages 5 and 6. Science Research Associates.

วารสารสันติสุขปริทรรศน์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03