การพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองเพื่อเสริมสร้างสันติสุข ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การพัฒนาเยาวชน, ความเป็นพลเมือง, สันติสุขบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาของเยาวชน 2) ศึกษารูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองเพื่อเสริมสร้างสันติสุข 3) ศึกษาการพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองเพื่อสันติสุขตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน โดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ใช้วิธีตีความจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัญหาของเยาวชน พบว่า ปัญหาด้านยาเสพติด ปัญหาด้านครอบครัว มีการหย่าร้าง ความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาด้านสุขภาวะ มีภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมทางเพศก่อนวัยอันควร ปัญหาด้านการศึกษา ขาดปัจจัยสนับสนุน และความเลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาการติดโทรศัพท์มือถือ ปัญหาอื่นๆการล้อเลียน บูลลี่กัน 2) รูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองเพื่อเสริมสร้างสันติสุข การจัดกิจกรรมเป็นไปตามสถานการณ์ทางชุมชนและสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา รูปแบบของกิจกรรมคือ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนต้องปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ค้นพบสาระสำคัญในช่วงเวลานั้นๆ ที่มาจัดกิจกรรมร่วมกันกับชาวบ้าน เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย ส่งเสริมกระบวนการคิด ส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม และ 3) การพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองเพื่อสันติสุขโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 จะช่วยกล่อมเกลาและพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองเพื่อสันติสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจ.เอส.การพิมพ์.
ดิลก บุญอิ่ม. (2561). การศึกษาวิเคราะห์หลักสัปปุริสธรรมในพระไตรปิฎกสำหรับใช้เป็นฐานของการปรับตัว. (สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. (2563). แผนพัฒนาเทศบาลตำบลเวียง ปี พ.ศ. 2563. ม.ป.ท. (อัดสำเนา).
พระเจริญ วฑฺฒโน (มันจะนา). (2562). แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเยาวชนต้นแบบการตื่นรู้เชิงพุทธบูรณาการ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 309-320.
พิชิต อวิรุทธพาณิชย์. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134. มาตรา 50 (ตอน 40 ก).
วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2561). ความเป็นพลเมืองของเยาวชนไทย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(1), 187-209.
วิมล หลักรัตน์. (2562). รูปแบบการจัดกิจกรรมสำหรับการพัฒนาเยาวชนในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศภายใต้โมเดล Thailand 4.0. วารสารการจัดการและการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 153 - 172.
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย. (2566). รายงานสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2566. ม.ป.ท.: กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.
สมบัติ โยธาทิพย์ และคณะ. (2555). รูปแบบและวิธีการพัฒนาเยาวชนเพื่อความมั่นคง
ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ยะลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.