สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
คำสำคัญ:
สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน, การบริหารสู่ความเป็นเลิศ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน 2) ระดับการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ 3) สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม เป็นงานวิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู จำนวน 331 คน จากประชากรจำนวน 1,924 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ถึงร้อยละ 70.80 ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายตามลำดับจากมากที่สุด ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (X8) การมีวิสัยทัศน์ (X9) การสื่อสารและการจูงใจ (X7) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (X1) การบริการที่ดี (X2) และการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (X6) และสามารถพยากรณ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ได้ร้อยละ 71.30 (R2=0.713)
References
กมลวรรณ สุขเกษม. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(24), 181-190.
ทิพวัลย์ อ่างคำ. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการสู่ความเป็นเลิศมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.
ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
เปรมวดี จิตอารีย์. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(27), 108-115.
มนัสนันท์ เกิดเอี่ยม. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. E-Journal of Education Studies Burapha University, 4(2), 37-54.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565 - 2568. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการพัฒนาข้าราชการตามสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: แอร์บอร์น พรินต์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ปี 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ. (2549). ชุดวิชาการจัดการเรียนรู้ โครงการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาประจำการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สุกัญญา ทองทิพย์. (2562). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน, 16(1), 94-113.
สุพิศ โสภา. (2560). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 จังหวัดขอนแก่น: กรณีศึกษา โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7(2), 84-94.
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.