ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง

ผู้แต่ง

  • รัศมี แก้วพรม มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • วิเชียร อินทรสมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

สมรรถนะของผู้บริหาร, การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา, สถานศึกษาสังกัด กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครู จำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น (a) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โดยใช้สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง

References

กนกพร โหงวเกิด, กัญภร เอี่ยมพญา และนิวัตต์ น้อยมณี. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

นารีนาถ โพธิ์เอม, เบญจวรรณ ศรีมารุต และมีนมาส พรานป่า. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานด้านวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและนวัตรกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 1(2), 35-53.

นิธิ เรืองสุขอุดม. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ

ปาริชาติ คำกอง. (2557). ศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบึงโขงหลง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครพนม, นครพนม.

พิชญ์สินี โภชนุกูล และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2563). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครู ในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(3), 109-130.

วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2554). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

วีรุด ศรีบุญราช และ ชานนท์ เศรษฐแสงศรี. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 133-141.

ศรีนภา ฉิมเฉย และสายสุดา เตียเจริญ. (2559). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ:บุ๊คพอยท์

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2554). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.

วารสารสันติสุขปริทรรศน์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03