บทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการโรคระบาดโควิด-19 กรณีศึกษา บ้านท่าสะท้อน ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ฐาปนี อินทะโร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ณัฐพล ช่วยมาก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • สุฑาทิพย์ วารีเพชร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • บุษกร ศิริรักษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ธัญชนก อินทร์เหมือน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • พิพัฒพงศ์ สมณกิจ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • กรวิทย์ เกาะกลาง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

บทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการ, โควิด-19, สงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการโรคระบาดโควิด-19 กรณีศึกษา บ้านท่าสะท้อน ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทในการจัดการโรคระบาดโควิด-19 ของผู้นำชุมชนท่าสะท้อน ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจัดการโรคระบาดโควิด-19 ของผู้นำชุมชนท่าสะท้อน ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา วิธีวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 280 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และวิธีการทดสอบ LSD (Least Significant Difference Test)

ผลการศึกษาพบว่า (1) พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อบทบาทของผู้นำชุมชนท่าสะท้อนในจัดการโรคระบาดโควิด-19 นั้น มีผลไปในทางบวก เนื่องจากการดำเนินการของผู้นำชุมชนนั้นมีผลทำให้ประชาชนได้ศึกษาความรู้ใหม่ และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยมากขึ้น (2) พบว่า ในการจัดการโรคระบาดโควิด-19 ในทั้งสองด้านที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จำแนกตามเพศ พบว่า มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยการเปรียบระหว่าง เพศชาย กับ เพศหญิง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากที่สุด จำแนกตามอายุ พบว่า การเปรียบระหว่าง อายุ 18 - 25 กับ มากกว่า 35 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากที่สุด จำแนกตามอาชีพ พบว่า การเปรียบระหว่าง เกษตรกร กับ พนักงานบริษัท มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากที่สุด และในส่วนของการจำแนกตามระดับการศึกษา และระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า การเปรียบเทียบรายคู่ไม่พบความแตกต่างกัน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข. (15 มีนาคม 2565). สถานการณ์ทั่วโลก. สืบค้นจาก https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65

กาญจนา ปัญญาธร และคณะ. (10 มิถุนายน 2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า

เกศสุดา โภคานิตย์ และคณะ. (31 มีนาคม 2560). บทบาทผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. รายงานการวิจัย. คณะรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

บัญฑิต กิมศรี. (กุมภาพันธ์ 2559). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา สืบค้นจาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57950027.pdf

ปราณี อธิคมานนท์. (2550). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภูมิภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (มกราคม – มิถุนายน 2554). แนวทางการศึกษาภาวะผู้นำ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร(5).

วิจิตรา จำฝังใจ และคณะ. (ม.ป.ป.). การจัดสวัสดิการชุมชนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษา ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. บทความวิจัยศิลปศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาสวัสดิการสังคม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สืบค้นจาก http://www2.huso.tsu.ac.th/ncom/csd/csdful_pdf/c175.pdf?fbclid=IwAR27IgCp95s_wmZLkHesbA-BpMDZqdTIamUD-9l6mD388butoLK705Ehccs

ไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา(2).

อภิชาติ พานสุวรรณ. (2557). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำชุมชนในเขตเทศบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สืบค้นจาก http://lp.mcu.ac.th/userfiles/file/thesis/Doctor-of-Philosophy/Public-Administration/57-12-1-001.pdf?fbclid=IwAR3Hqp6-O30FSlJYvX5Xc1bfwlVQ0IKsbO7uNvtEFpSVPu3v8Vm-Dpeze0M

อมรเทพ จันทร์ดวน. (2554). บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่นในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายและการวางแผนสังคม : มหาวิทยาลัยทักษิณ สืบค้นจาก http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/2407/1/%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%20%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%99%2000185165.pdf?fbclid=IwAR2QN1hbHF-rqzFOVVIKRXor6wDRf0hFEaFoXnP

He, F. (2020, March 12). Coronavirus disease 2019: What we know?. Journal of Medical Virology. John Wiley & Sons Inc. from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1002/jmv.25766

HR NOTE TEAM. (2021, September 3). ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC และหลักการจัดการองค์กรสู่ความสำเร็จตามแนวคิดของ Henri Fayol. from https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190626-poccc-henri-fayol/

THE AMERICAN HERITAGE DICTIONARY. (n.d.). leadership. from https://www.ahdictionary.com/word/search.html?q=Leadership

World Heath Organization. (n.d.). Coronavirus. from https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30