การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อุเทน เขียวยะ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประเสริฐ ปอนถิ่น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • นพดณ ปัญญาวีรทัต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการสาธารณะ, ที่ว่าการอำเภอแม่แตง, หลักธรรมสังควัตถุ 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบผู้รับบริการต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่มาบริการงานสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และทดสอบค่าเอฟ สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) เปรียบเทียบการทดสอบตามสมมติฐาน พบว่า ผู้รับบริการที่มีอายุ สถานภาพ อาชีพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนผู้รับบริการ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ งานที่มารับบริการ ได้ยอมรับสมมติฐาน 3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการให้บริการของเจ้าหน้าที่ควรจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ใช้ในการบริการเพื่อลดขั้นตอนและให้เกิดความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ การให้ความเชื่อมั่น การตอบสนองต่อผู้รับบริการ และการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ฉะนั้นการให้บริการโดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ผูกใจคนและประสานหมู่ชนให้เกิดความสามัคคี เป็นหลักธรรมที่ทำให้คนเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนทั่วไป ผลที่ตามมาคือ ประชาชนได้รับการบริการที่ประทับใจ มีประสิทธิภาพในการบริการมากยิ่งขึ้น ให้สมคำที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน”

References

กองวิชาการและแผนงาน กรมการปกครอง. (2552). คู่มือการพัฒนาบริการประชาชนสำหรับการปฏิบัติงานระดับอำเภอ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.

กูลจิตร รุญเจริญ. (2564). เปรียบเทียบปัจจัยคุณภาพบริการที่มีผลต่อความไว้วางใจของผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 1(3), 34-49.

จารุณี ดาวังปา และมณีรัตน์ ภาคธูป. (2560). คุณภาพบริการพยาบาลตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ป่วยประกันสังคมโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 215-226.

ชวัลณัฎฐ์ ปาลีย์รวี, อภิรมย์ สีดาคำ และประเสริฐ ปอนถิ่น. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4(2),50-64.

น้ำตาล สีนวรักษ์, อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ และวิชัย โถสุวรรณจินดา. (2566). คุณภาพการให้บริการคาร์แคร์ Meguiar’s ในสถานการณ์โควิด 19. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 29(1), 111-120.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 ตอนที่ 100ก, หน้า 1.

ฟาริดา ยุมาดีน และกิตติ แก้วเขียว. (2562). ส่วนประสมการตลาดบริการและคุณภาพบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(2), 53-64.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 124 ตอนที่ 47ก, หน้า 1.

วชิระ เข็มพงษ์ และกิตติธัช ยูระทัย. (2566). คุณภาพการให้บริการของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครศรีธรรมราช. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(10), 1-11.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (2566). การประเมินผลการให้บริการศูนย์ฯ/ถาม-ตอบ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.oic.go.th/INFOCENTER31/3162/#infoma

สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม. (2563). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

สุมิตรา สายแวว, อโณทัย หาระสาระ และอัยรดา พรเจริญ. (2564). การรับรู้และความคาดหวังที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎรสำนักทะเบียนอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 16(3), 177-190.

อภิสมัย พัฒน์ทอง. (2564). คุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 1-14.

อรรถพล บุบผา และฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2566). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการบริการงานจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครขอนแก่นตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(2), 619-632.

อลิศรา ชัยสงค์, นพดณ ปัญญาวีรทัต และประเสริฐ ปอนถิ่น. (2566). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของคลินิกตาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4 (2),44-58.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.

#JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24