วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบล เชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วินิจ ผาเจริญ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พระครูปลัดนิเวช ชินวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุตวรธรรมกิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมือง, ประชาธิปไตย, การปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 2)ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเชิงดอยเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 399 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าอัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

ระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีสำนึกในหน้าที่พลเมืองและเชื่อมั่นในตัวเอง 2)ด้านความสำคัญของศักดิ์ศรีและความเสมอภาคของบุคคล 3)ด้านการเคารพในกติกาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย 4) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง 5)ด้านการมองโลกในแง่ดี มีความไว้วางใจเพื่อนมนุษย์ 6)ด้านความเชื่อมั่นศรัทธาต่อหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย พบว่าในภาพรวมมีระดับวัฒนธรรมทางการเมืองอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X}=3.98 ) ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่สำคัญ คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชน ทุกคนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้มีการจัดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนได้ระลึกอยู่เูสมอว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีความสำคัญและมีการเสริมสร้างประชาธิปไตยในเชิงเนื้อหาที่เป็นหลักการของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยไม่ได้อยู่ที่รูปแบบหรือโครงสร้าง แต่เป็นการปลูกฝังให้ประชาชนมีวิธีคิดและมีการดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย

References

ทรงกต พิลาชัย. (2552). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของข้าราชการเรือนจำ จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหบัณฑิต. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปัญญา ใช้เฮ็ง, (2538).วัฒนธรรมการเมืองของข้าราชการรัฐสภา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พงษ์ศักดิ์ ทักษิณสุข. (2551). วิถีความเป็นประชาธิปไตยของประชาชนตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การศ้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

มรุต วันทนากรและดรุณี หมั่นสมัคร. (ม.ป.ป.). ประวัติและพัฒนาการของเทศบาล. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2562,จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=เทศบาล

วิศรุตา ทองแกมแก้ว. (2557). พัฒนาการวัฒนธรรมทางการเมืองไทย : จาก “ประชาธิปไตยเบ่งบาน” สู่ “การปฏิรูปประเทศ”.ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

สาวิตรี ก้อนอาทร. (2551). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สำราญ ทองสิงคลี. (2556). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของพนักงานส่วนตำบลอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

เอกวิทย์ มณีธร. (2552). ระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: เอ็ม.ที.เพรส

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30