การประกาศรัฐนิยมที่ส่งผลต่อหน้าที่พลเมืองในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม
คำสำคัญ:
รัฐนิยม, หน้าที่พลเมือง, จอมพล ป.พิบูลสงครามบทคัดย่อ
การประกาศรัฐนิยมที่ส่งผลต่อหน้าที่พลเมืองในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการประกาศรัฐนิยม 12 ฉบับได้แก่ การใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ การป้องกันภัยที่จะบังเกิดแก่ชาติ การเรียกชื่อชาวไทย การเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี การให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่มีกำเนิดขึ้นในประเทศไทย เรื่องทำนองและเนื้อร้องเพลงชาติ เชิญชวนให้ชาวไทยสร้างชาติ เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี เรื่องภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี เรื่องกายแต่งของประชาชนชาวไทย เรื่องกิจประจำวันของคนไทย เรื่องการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก คนชราหรือคนทุพพลภาพ รัฐนิยม 12 ฉบับนี้ประกาศขึ้นเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามจุดประสงค์เพื่อพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าสู่ความเจริญ แต่จุดประสงค์เบื้องหลังของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศมหาอำนาจเหมือนประเทศ ยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น แต่เนื่องจากความต้องการของจอมพล ป.พิบูลสงคราม อยากประสบผลสำเร็จในเวลาที่เร็วเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อพลเมืองไทยในการใช้ชีวิต และมีรัฐนิยมบางฉบับที่ทำให้ประชาชนปฏิบัติจนถึงปัจจุบันนี้
References
อดุลย์ กอวัฒนา, การลาออกของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อ 24 กรกฎาคม 2457. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518, 186 หน้า.
ถนอมจิต มีชื่น, จอมพล ป. พิบูลสงครามกับงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พ.ศ. 2495 - 2500) กรุงเทพฯ : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2531, 166 หน้า.
รศ.ณรงค์ พ่วงพิศ.2545.การประกาศใช้ รัฐนิยม ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487).วรสารประวัติศาสตร์ 2545/2002file:///C:/Users/Lenovo/Downloads/2584-8466-1-PB%20(4).pdf
ชนิดา จรรโลงศิริชัย(ไม่ระบุวันที่เผยแพร่).แปลก พิบูลสงคราม.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2 563, http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%81_%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.