สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
คำสำคัญ:
สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 333 คน จากประชากร 1,980 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้าน พบว่าด้านสมรรถนะในการตระหนักรับรู้โลกาภิวัฒน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.31, S.D.=0.76) 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้าน พบว่าด้านพันธกิจของสถานศึกษามีความชัดเจน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.31, S.D.=0.73) และ 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .920 ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายสูงสุด คือด้านสมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ (X4) ด้านสมรรถนะในการบริหารตนเอง (X6) ด้านสมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ (X2) ด้านสมรรถนะในการตระหนักรับรู้โลกาภิวัตน์ (X5) และ ด้านสมรรถนะในการทำงานเป็นทีม (X3) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ได้ร้อยละ 84.00
References
กิตติชัย เทียนไข. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ลพบุรี. วารสารพัฒนาทักษะทาง วิชาการอย่างยั่งยืน, 2(2), 49-60.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.
ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
เปรมวดี จิตอารีย์. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 14(27), 108-115.
พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
พิทยา บวรพัฒนา. (2556). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2565). สมรรถนะสำคัญในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 10(2), 266-280.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/a6Esi
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือและชุดฝึกอบรมการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาแนวใหม่ ตามแนวปฏิบัติการศึกษาในทศวรรษที่ 2 การอบรมแบบผสมผสาน. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/Uqgh2
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2561). Competency Assessment Tool เครื่องมือประเมินขีดความสามารถของบุคลากร. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีคิวพี จำกัด.
Don Hellriegel, Susan E. Jackson, and John W. Slocum, Jr. (2005). Management: A Competency-Based Approach. 10th ed. Singapore: Thomson South-Western.
Fred C. Lunenburg and Allen C. Ornstein. (2013). Educational Administration: Concepts and Practices. 6th ed. CA: Wadsworth Cengage Learning.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.