ระบบการบริหารจัดการสภาวะวิกฤติโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธีรพล นิติจอมเล็ก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
  • รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
  • วีณา นิลวงศ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
  • ภาวิณี อารีศรีสม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
  • พิณนภา หมวกยอด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ระบบการบริหารจัดการ, วิกฤติโรคอุบัติใหม่, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรค ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ และพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะวิกฤติโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำเชิงบูรณาการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มประชากรตัวอย่าง คือ พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ (f-test) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และประธานสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานการณ์ภาวะวิกฤติโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานการณ์ภาวะวิกฤติโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน 4) กลยุทธ์เชิงรับ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other02.pdf

คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). (2565, 22 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 175, หน้า 173.

เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2564). ประสิทธิผลการสื่อสารของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.). วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(2), 123-144

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และคณะ. (2564). การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

ธนศักดิ์ ธงศรี. (2566). รูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(2), 58-71.

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และปิยะกมล มหิวรรณ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 40-55.

พงศ์พันธ์ รัตนาธรรมวัฒน์ และเกษมชาติ นเรศเสนีย์ (2566). ประสิทธิผลการนำนโยบายการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปปฏิบัติของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสหวิทยาการและการจัดการภาคเอกชน, 1(1), 33-45.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2560). สถิติเบื้องต้น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. (2563). แนวทางปฏิบัติในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (DOVID-19). สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565, จาก http://donkaewlocal.go.th/web2018/wp-content/uploads/2020/04/7.-9658.pdf

Bangkokbiznews. (2020). Drilling a Secret Story 'Coronavirus' and Update the Information You Need to Know. Retrieved October 18, 2566, from https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/863976

Gulick, L. and Urwick, J. (1973). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Kelvin-lloafu, L. E. (2016). The role of effective communication in strategic management of organizations. International Journal of Humanities and Social Science, 6(12), 93-99.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.

#JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24