การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐกานต์ หงษ์กุลเศรษฐ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้งทั่วไป, การบูรณาการหลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดนครราชสีมา เป็นงานวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไป พบว่า ด้านการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ไปเลือกตั้งจากความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ ด้านการสื่อสารทางการเมือง มีการประชาสัมพันธ์และมีทัศนคติที่ดีต่อการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง มีการแสดงความคิดเห็นในการกำหนดนโยบาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ด้านความเข้าใจทางการเมือง ได้รับการพัฒนาเรียนรู้ทางการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง ด้านทัศนคติทางการเมือง เกิดจากการความเชื่อจากคนใกล้ชิด การเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน ด้านพฤติกรรมทางการเมือง มีการศึกษาเรียนรู้หลักการและแนวทางทางการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป โดยใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 พบว่า รักษาการประชุมและเลิกประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ปฏิบัติตามมติของพรรค เคารพนับถือผู้ใหญ่ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถือปฏิบัติตามระเบียบ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). ผลการเลือกตั้ง 2566 นครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/1068372

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

ทินพันธ์ นาคะตะ. (2543). ประชาธิปไตยไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปกรณ์ มหากันธา. (2557). รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2561). ระบอบการปกครอง ระบบกฎหมาย และรัฐธรรมนูญของอังกฤษ : บ่อเกิดแห่งประเพณีทางรัฐธรรมนูญ. รัฐสภาสาร, 66(5), 9-56.

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง. (2566). จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2566. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566, จาก https://www2.nakhonratchasima.go.th/files/com_news/2023-05_2baf0a6e88018ce.pdf

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาส ภาสสัทธา. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อความโปร่งใส ในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 403, หน้า 17.

วิทยา จิตนุพงศ์. (2562). ความมั่นคงทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 280-287.

ศุภมา จิตต์เที่ยง. (2566). กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมืองในกรุงเทพมหานคร. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2550). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักประชาสัมพันธ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักวิชาการ. (2558). ความมั่นคงแห่งชาติด้านการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุกัญญาณัฐ อบสิณ. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป ของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

สุทน ทองเล็ก. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2562. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

อมร รักษาสัตย์, สุรพล ราชภัณฑารักษ์ และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2543). ประชาธิปไตย อุดมการณ์ หลักการและแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

#JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24