รูปแบบการเสริมสร้างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การบริหารงาน, รูปแบบการเสริมสร้าง, หลักธรรมาภิบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสริมสร้างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 6 คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า นิติธรรม ความโปร่งใส และคุณธรรม ตามลำดับ 2) ปัจจัยเสริมสร้างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การจัดองค์การ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การวางแผน การควบคุมและการนำ ตามลำดับ 3) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การจัดองค์การ การวางแผน การควบคุม และการนำ โดยพัฒนาเป็นรูปแบบที่เรียกว่า OPCL Model
References
แก้วกาญจน์ กิมานุวัฒน์. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
ขันแก้ว พรมคำ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ไชยวัฒน์ เผือกคง. (2561). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 194-210.
ติยานนท์ แสงบุตร. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ยุทธศักดิ์ พบลาภ และอดุลยเดช ตันแก้ว. (2552). การศึกษาเรื่องการกระจายอำนาจกับการบูรณาการ การปกครองตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
วิจิตรา แป้นจันทร์, ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์ และภาคภูมิ อินทวงศ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 16(1), 143-155.
วิวัฒน์ บุญเกษม. (2565). การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 16 (2), 239-252.
วีระ หาญกัน, สุวรัฐ แลสันกลาง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 16 (1), 53-67.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2565). การประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessessment: LPA). สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2566, จาก https://www.bangchana.go.th/html/new-report.asp?typere port=14
ไสว นามโยธา. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
World Bank. (1989). Sub-Saharan Africa: From Crisis to Sustainable Growth. Washington DC: The World Bank.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.