รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชนบนฐานคำสอนผญ๋าล้านนาจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
คุณธรรมและจริยธรรม, คำสอนผญ๋าล้านนา, รูปแบบการเสริมสร้างบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหาคำสอนผญ๋าล้านนาที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชน 2) ศึกษาและวิเคราะห์คุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชน และ 3) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชนบนฐานคำสอนผญ๋าล้านนา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ (1) เยาวชนจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง 300 คน และ (2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาคำสอนผญ๋าล้านนาจะมีลักษณะเป็นสุภาษิตล้านนาเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าและเป็นแหล่งภูมิปัญญาด้านคำสอนที่ช่วยขัดเกลาสั่งสอนเยาวชนให้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์ สามารถนำไปพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตได้ 4 ด้าน คือ (1) ด้านทัศนคติและการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ (2) ด้านสภาพชีวิตความเป็นอยู่ (3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และ (4) ด้านภาวะจิตใจและความรู้สึก 2) คุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.47) เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านมากที่สุด คือ ความเสียสละ (=3.66) รองลงมาคือ ความรับผิดชอบ (=3.49 และน้อยที่สุด คือ ความมีระเบียบวินัย (=3.37) 3) รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชนบนฐานคำสอนผญ๋าล้านนา มีหลักการ คือ การบูรณาการและผสมผสานวิธีการจัดการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม ผู้เรียนได้วิเคราะห์ตนเอง และเรียนรู้จากคำสอนผญ๋าล้านนา นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีรูปแบบ 3 Hs คือ กิจกรรม Head พุทธพิสัย กิจกรรม Heart จิตพิสัย และกิจกรรม Hand ทักษะพิสัย ผลการทดลองใช้รูปแบบเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ และผลประเมินการใช้รูปแบบก่อนและหลัง พบว่า หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินความพึงพอใจของเยาวชนผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับมาก
References
กนิษฐา ไทยกล้า และคณะ. (2559). พฤติกรรมการใช้สารเสพติดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและเครือข่ายทาง สังคมของเยาวชนนอกสถานศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). สิทธิเด็กและการวางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธณัฐชา รัตนพันธ์ และคณะ. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานตามหลักทักษะชีวิต 4H เพื่อให้ได้คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5(3), 15-25.
เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์. (2565). คติชนประเภทภาษิตของชาวล้านนาที่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 5(2), 27-40.
ผดุง จิตเจือจุน. (2562). สถานการณ์ปัจจุบันของเด็กและเยาวชนไทย น่าวิตกในอนาคตยิ่งน่าเป็นห่วง. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_ 1313057
พรนิภา จันทร์น้อย. (2560). รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามคุณลักษณะบัณฑิตอุดมคติไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พระมหาวัฒน์ วฑุฒนสุธี (อุปคํา). (2545). คำสอนเรื่องคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในภาษิตล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระวัลลภ หมื่นยอง. (2547). ความคิดทางปรัชญาในภาษิตล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พัฒนา พรหมณี และคณะ. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษา เอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(1), 59-66.
ศิณาภรณ์ หู้เต็ม. (2552). พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาลัยราชพฤกษ์. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สถาพร วิชัยรัมย์. (2559). จริยธรรมสำหรับนักบริหาร. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สุกรี บุญเทพ. (2563). พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2554). โวหารล้านนา (เพลงละอ่อน, ปริศนา-คำทาย, คำอู้บ่าว-อู้สาว, สุภาษิต). เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
Shelly, Maynard W. (1975). Responding to Social Change. Pennsylvania: Dowden Hutchison.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.