การเปรียบเทียบนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งกับ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการมอบอำนาจระหว่างปี พ.ศ. 2552-2565
คำสำคัญ:
การเลือกตั้งและแต่งตั้งผู้ว่า, นโยบายสาธารณะ, ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเปรียบเทียบนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่มาจากการเลือกตั้งกับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่มาจากการมอบอำนาจระหว่างปี พ.ศ. 2552-2565 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีการรวบรวมข้อมูลเอกสาร สำนักข่าว การสำรวจพื้นที่ และความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงการให้คำแถลงการณ์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ สุขุมพันธ์ บริพัตร, พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และ รองศาสตราจารย์ ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินการของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯที่มาจากการเลือกตั้งกับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯที่มาจากการมอบอำนาจ ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ 1) รองศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร มีความพึงพอใจจากประชาชนต่อการดำเนินงานคิดร้อยละ พึงพอใจ 61.26% และไม่พึงพอใจ 38.74% 2) พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง มีความพึงพอใจจากประชาชนต่อการดำเนินงาน คิดร้อยละพึงพอใจ 52.2% และไม่พึงพอใจ 28.1% 3) รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีความพึงพอใจจากประชาชนต่อการดำเนินงานคิดร้อยละพึงพอใจ 47.5% และ ไม่พึงพอใจ 10% และข้อเสนอแนะการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯมีดังนี้ 1) วิธีการถ่ายทอดและสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนถึงนโยบายของภาครัฐ 2) สร้างวัฒนธรรมที่ดีงามและเป็นที่ยอมรับของประชาชน และ 3) รู้หลักจิตวิทยา เพื่อเป็นตัวกลางสื่อ ระหว่างรัฐและประชาชน ทั้งนี้ในทางปฏิบัติด้านกฎหมาย ระเบียบแบบแผน และกฎข้อบังคับ
References
จารุวรรณ เขตขันหล้า. (2559). การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของประชาชนต่อความสำเร็จในการดำเนินนโยบายขององค์การบริหารท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
จุฑามณี ประสานตรี, ทัศนา ประสานตรี และมนตรี อนันตรักษ์. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนโยบายการพัฒนาของเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(2), 93-100.
ไทยรัฐ. (2562, มกราคม 4). คนพอใจ ผลงานผู้ว่าฯ กทม.ระดับปานกลาง อยากให้เร่งแก้ปัญหาความปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1461846
นรงศักดิ์ หนูอุดม, พระธีรวัฒน์ อนาวิโล, พระณัฐพงษ์ สิริสุวณฺโณ และพระณัฐพงษ์ ญาณเมธี. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนโยบายโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศ, 1(2), 1-20.
ปวีณา ศรีชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินนโยบายของเทศบาลเมืองดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2565). ก่อนจะถึงการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และสมาชิกสภากรุงเทพฯ พ.ศ. 2565 การเมืองและประเด็นปัญหาท้าทายของการพัฒนากรุงเทพฯ จากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล และ สืบพงศ์ สุขสม. (2564). การบริหารจัดการการค้าข้างทางที่เหมาะสมของกรุงเทพฯ สู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในเมืองที่ยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์วิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 394-409.
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (2553). ประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือน ผู้ว่า ม.ร.ว สุขุมพันธ์ กรุงเทพโพลล์. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566, จาก https://bangkokpoll.bu.ac.th/poll/result/poll485.php?pollID=340&Topic
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2566). 1 ปีกับผลงานผู้ว่าฯ กทม. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566, จาก https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=456
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2566). 1 ปีผู้ว่าฯ ชัชชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://nidapoll.nida.ac.th/data/survey/uploads/FILE-1685707245630.pdf
tdri. (2565). การประเมินผลงานผู้ว่าฯ อัศวิน และข้อเสนอแนะสำหรับผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://tdri.or.th/2022/04/bangkok-governor-monitoring-policy-report/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.