ความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขังที่มีต่อคุณภาพการบริการเรือนจำไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ปิยรัฐ จำแถว หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้- ชุมพร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อิสริยา เพ็งแสน หลักสูตรการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้- ชุมพร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • เชษฐ์ ใจเพชร หลักสูตรการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้- ชุมพร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขัง, คุณภาพการบริการ, เรือนจำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขังที่มีต่อคุณภาพการบริการเรือนจำไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขังที่มีต่อคุณภาพการบริการเรือนจำไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ญาติที่มาเยี่ยมผู้ต้องขังเรือนจำไชยา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติใช้ในการวิจัยได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และหาค่าสถิติด้วย (t- test) แบบความแปรปรวนทางเดียว (One- Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของญาติที่เข้ามาเยี่ยมผู้ต้องขัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ ด้านเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ ด้านกระบวนการการให้บริการ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านสถานที่ในการให้บริการเป็นอันดับสุดท้าย 2) จากการศึกษาการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขังที่มีต่อคุณภาพการบริการเรือนจำไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นรายบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ เวลาในการเข้าเยี่ยมต่างกัน มีความแตกต่างกัน ในส่วน เพศ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และข้อเสนอแนะควรเพิ่มระยะเวลาในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังให้มากขึ้น ในส่วนของสถานที่ควรมีการเพิ่มพื้นที่ในการจอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ให้เกิดความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น

References

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2551). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ.เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาการบริการ หน่วยที่ 8- 15. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ชดาษา อิ่มสำราญ. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลบางเขน. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

เรือนจำอำเภอไชยา. (28 พฤษภาคม 2561). ประวัติเรือนจำอำเภอไชยา. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564, จาก http://www.correct.go.th/aopciya/index10.htm

สุนันทา ทวีผล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้คำปรึกษา แนะนำปัญหาด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย‎ 3‎ (สคช.). ปัญหาพิเศษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อนงค์นาฎ แก้วไพฑูรย์. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2550). จิตวิทยาบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อดุลพัฒนกิจ.

อำพร สครรัมย์. (2557). ความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขังต่อคุณภาพการบริการเรือนจำจังหวัดตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Shelly, D. F. Jr. (1995). Tackling family member compensation. American Printer, 215(2).

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis. 2nded. New York: Harper and Row.

JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13