การปลูกฝังค่านิยมวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พระเสกสรรค์ ฐานยุตโต มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู ประเทศอินเดีย
  • พระมหาภาณุวิชญ์ ภาณุวิชโญ มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู ประเทศอินเดีย
  • พระมหาสิงห์ณรงค์ สิรินฺทรเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ณรงค์ศักดิ์ ต้าวคำ เมืองออลังคบาด รัฐมหาราษฎร์, ประเทศอินเดีย

คำสำคัญ:

การปลูกฝังค่านิยม, วิถีชีวิตประชาธิปไตย, สถาบันการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปลูกฝังค่านิยมวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างการปลูกฝังค่านิยมวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 222 คน เครื่องมือใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการปลูกฝังค่านิยมวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนิสิตทั้งในด้านสามัคคีธรรม ด้านคารวะธรรม ด้านปัญญาธรรม โดยภาพรวมทุกข้ออยู่ระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และส่วนตัวแปร เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ ต่างกัน มีการปลูกฝังค่านิยมวิถีชีวิตประชาธิปไตย แตกต่างกัน ผลการวิจัยจึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนอาชีพ ต่างกัน มีการปลูกฝังค่านิยมวิถีประชาธิปไตย ไม่แตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

โคทม อารียา. (2541). การพัฒนาวินัยและประชาธิปไตย. ใน คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่เน้นความมีวินัยและความเป็นประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

คำนึง ชัยสุวรรณรักษ์ และธีระพล บุญสร้าง. (2546). ประชาธิปไตยในวิถีชีวิตไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์แม็คจำกัด.

เชิดภัก ศิริสุข. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมประชาธิปไตยกับการอบรมเลี้ยงดูและกิจกรรมเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

พรชัย หนูแก้ว. (2541). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมประชาธิปไตยนักเรียน. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

สาโรช บัวศรี. (2520). ความหมายของประชาธิปไตยในแง่การศึกษาในพื้นฐานการเมืองและการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานสภาพัฒนาการเมืองสถาบันพระปกเกล้า. (2554). รายงานวิจัยสำนึกพลเมือง: เอกสารวิชาการลำดับที่ 54-01. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา

อมร รักษาสัตย์. (2543). ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนคู่มือการเรียนการสอนการเผยแพร่และการมีส่วนร่วม สำหรับครูอาจารย์และผู้นำชุมชน. กรุงเทพฯ: การันต์การพิมพ์

Dewey, J. (1916). Democracy and Education. New York: The Macmillan Company.

Erikson, E. H. (1968). Identity: Youth and crisis. New York: W.W. Norton.

Skinner, B. F. (1971). Beyond Freedom and Dignity. New York: Knopf.

JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13