การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนหนองกี่พิทยาคม อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • จิตรีวรรณ วุฒิปัญญาอิสกุล โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
  • พิชิต ปุริมาตร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • อภิวัฒน์ จ่าตา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) แนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 321 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง รองลงมาคือ ด้านการตัดสินใจทางการเมือง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการร่วมรณรงค์เลือกตั้ง 2) แนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 ได้แก่ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกัน ไม่บัญญัติหรือล้มเลิก ข้อบัญญัติต่าง ๆ เคารพผู้อาวุโส ไม่ข่มเหงผู้มีความคิดต่าง การเคารพบูชาสักการะศาสนสถาน อารักขาและห่วงแหนความเป็นไทย

References

กรมวิชาการ. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ดาวรุ่ง โสฬส, ประเสริฐ ปอนถิ่น และอภิรมย์ สีดาคำ. (2566). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย. 4(1), 65-78.

พรสวรรค์ สุตะคาน. (2558). การกล่อมเกลาทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 12(2), 1-18.

สถาบันพระปกเกล้า. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหง่ชาติ. (2542) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหง่ชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุกฤตา จอนดาพรม และโชติมา แก้วกรอง. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีไทยในพื้นที่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นของภูมิภาคตะวันตก. วารสารการเมืองการปกครองการจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 17-32.

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. (2547). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ ปริ้นติ้ง.

#JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-27