การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุพรรณ จินะมูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประเสริฐ ปอนถิ่น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อภิรมย์ สีดาคำ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล, หลักทุติยปาปณิกสูตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2)ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลป่าแดด 3)ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลป่าแดด จำนวน 391 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักทุติยปาปณิกสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ทั้ง 6 หลัก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) เปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐาน 3) ข้อเสนอแนะ พบว่าการบริหารงานของเทศบาลควรมีความชัดเจนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนรับทราบเกี่ยวกับ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่จะมีผลบังคับใช้กับชุมชน และบุคลากรของเทศบาล ควรปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักคุณธรรม มีภาวะความเป็นผู้นำ ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม

References

กมล ฉายาวัฒนะ. (2554). บริหารคนและงานด้วยวิธีการของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.

กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

กรมการปกครอง. (2543). การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.

ชาญยุทธ พวงกําหยาด. (2560). การนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.

ไชยวัฒน์ ค้ำชูและคณะ. (2548). การบริหารการปกครองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม. กรุงเทพฯ: น้ำฝนการพิมพ์.

เทศบาลตำบลป่าแดด. (2564). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2565, จาก http://www.padad.go.th

พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2553). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 6(2), 105-116.

พระปุณภณ สุภสีโล (นิธิกาญจนจินดา). (2565). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลรั้วใหญ่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นครปฐม.

พีรพล ไทยทอง. (2560). ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐยุคใหม่ไทยแลนด์ 4.0. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วรรณรุจี ยันทะแย้ม. (2564). ปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมายการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารปัญญาปณิธาน. 6(2), 197-198.

สมศักดิ์ สายศรี. (2564). การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปกครองขององค์การบริหารส่วน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(7), 245-255.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

#JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-27