การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การประยุกต์หลักพุทธธรรม, การส่งเสริมคุณภาพการให้บริการ, หลักสังคหวัตถุ 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชน เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้รับบริการของสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก จำนวน 384 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test F-test สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชน ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) หลักสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชน ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีระดับความสัมพันธ์สูงมาก 3) ข้อเสนอแนะแนวทาง พบว่า ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญในการบริการแต่ละด้านเป็นอย่างดี ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีทักษะในการให้บริการที่ดี สร้างความประทับใจในการรับบริการควรส่งเสริมมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการ เช่น การจัดสถานที่นั่งรอรับบริการ น้ำดื่ม โทรทัศน์ และมีบริการสัญญาณ Wi-Fi Free และควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีการแนะนำและอธิบายขั้นตอนการให้บริการอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย และตอบข้อซักถาม ข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอรับบริการด้วยความเอาใจใส่
References
กรมการปกครอง. (2544). ประชาชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง. กรุงเทพฯ: ส่วนท้องถิ่น.
ชมัยพร มีทวี. (2565). การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานช่างรังวัดเอกชน ในกำกับกระทรวงมหาดไทย เขตเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตรสาสนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(1), 59-61.
เทศบาลตำบลช้างเผือก. (2564). ข้อมูลบุคคล. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564, จาก http://www. changpeuk.go.th/
ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล. (2557). ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2557 -2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย. (2560). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 591-592.
รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาลเปาโลรังสิต. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ศิริรักษ์ ภูหิรัญ. (2563). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่สิ่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายอำเภอหนองแค จังหวดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
สัญญา เคณาภูมิ และคณะ. (2562). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
อภิรมย์ สีดาคำ, นพดณ ปัญญาวีรทัต และวินิจ ผาเจริญ. (2565). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(2), 23-32.
อาคม สุขมา. (2557). คุณภาพในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธร จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.