ภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การบริหาร, หลักทุติยปาปณิกธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำที่ใช้หลักทุติย ปาปณิกธรรมไปบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนตามหลักทุติยปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลางกับภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหาร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหาร เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในเขตปกครองเทศบาลตำบลสันกลาง จำนวน 382 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test F-test การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำที่ใช้หลักทุติยปาปณิกธรรมไปบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักทุติยปาปณิกธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหาร ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนตามหลักทุติยปาปณิกธรรมของผู้บริหารกับภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหาร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R= .938**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหาร พบว่าผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดเข้าใจบทบาทที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดการองค์กร แก้ปัญหาเกิดจากการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
References
เปรม ติณสูลานนท์. (8 กุมภาพันธ์ 2549). ปาฐกถาเรื่องแนวทางพระราชดำรัสสู่การบริหารจัดการภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2565, จาก www.nesgc.go.th/transparency/webboard
พระครูสังฆรักษ์ภูวนน ธีรวฑฺฒโน. (2565). ภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดขอนแก่น. (สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระปัญญา โชติธมฺโม. (2561). ภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมือง ท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระมหาอาคม อตฺถเมธี. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระอนุสรณ์ วชิรวํโส. (2563). ภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
มนตรี พีรพลพิพัฒน์. (2540). จริยธรรมกับภาวะผู้นำ: ศึกษาทัศนะนักวิชาการรัฐศาสตร์ใน มหาวิทยาลัยแห่งประเทศที่มีต่อผู้นำทางการเมือง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม
Adair, J. (2010). Strategic Leadership: How to Think and Plan Strategically and Provide Direction. London: Pan Macmillan.
Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectation. New York: The Free Press.
Chowdhury, S. (2003). Organization 21c. Englewood Cliffs. NJ: Person Education.
McFarland, L. J., Senn, L. E. & Childress, J. R. (1994). 21th century leadership: Dialogues with 100 top leadrs. New Yoek: The Leadership Press.
Tichy, N. M. & Devanna, M. A. (1990). The transformational lader. New York: John Wiley & Sons.
Yamane, T. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. 2nded. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.