การบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, หลักวิหารธรรม, การปกครองคณะสงฆ์ภาค 11บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 2) เพื่อศึกษาหลักพรหมวิหารธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 และ 3) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าคณะพระสังฆาธิการผู้สนองงานคณะสงฆ์ภาค 11, ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด, นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จำนวน 16 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 ได้แก่ 1) ด้านการปกครอง ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยพร้อมส่งเสริมงานปกครองคณะสงฆ์ในพื้นที่ 2) ด้านการศาสนศึกษา จัดการศาสนศึกษาแก่พระสงฆ์และประชาชน 3) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ดำเนินการจัดการศึกษาสงเคราะห์ประชาชนผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา 4) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน 5) ด้านการสาธารณูปการ จัดอาคารสถานรองรับกิจกรรมชุมชน รองรับกิจกรรมขององค์กรเครือข่ายวัด 6) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ จัดสร้างสาธารณสมบัติ โรงพยาบาล สถานีตำรวจ โรงเรียน 2. หลักพรหมวิหารธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 ได้แก่ 1) ด้านเมตตา ความเมตตาช่วยเหลืออย่างเหมาะสม 2) ด้านกรุณา ช่วยเหลือประชาชนเป็นแบบอย่างที่ดี 3) ด้านมุทิตา แสดงความยินดี 4) ด้านอุเบกขา การเลือกใช้อุเบกขาตามโอกาสและช่วงเวลาที่เหมาะสม 3. บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 การปกครองคณะสงฆ์และการปฏิบัติของคณะสงฆ์ในทุกระดับทุกสถานที่ก็จะเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงามเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนยังส่งผลไปยังความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนาอีกด้วย และการจัดกิจกรรมบูรณาการแก้ปัญหาในหมู่บ้านรักษาศีล 5 มีใจเป็นการช่วยให้เกิดการพัฒนางานปกครองคณะสงฆ์
References
ธีระพงษ์ มีไธสง. (2 สิงหาคม 2564). วาทกรรมอำนาจ “พระสงฆ์ไทย” ว่าด้วย “สังฆราช”. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2564, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_5793
พระมหาศรณชัย มหาปุญฺโญ (การะเวก). (2557). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัตน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระมหาสุทธิชัย ฐิตชโย (ถาวรศิล). (2546). ศึกษาเชิงวิเคราะห์พรหมวิหาร 4 ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา. (สารนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.
พระมานิต เตชวโร (อุดนอก). (2550). รัฐศาสตร์แนวพุทธ: พรหมวิหาร 4 กับนักปกครอง. (สารนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิกจำกัด.
พระสุระ สนิทชัย และรชพล ศรีขาวรส. (2562). บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา. (325-335). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (31 กรกฎาคม 2561). สถิติจำนวนวัดทั่วประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564, จาก http://asc.mcu.ac.th/database/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.