ผลการใช้วงจรการประเมินการเรียนการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

สุนิษา สภาพไทย
สกลรัชต์ แก้วดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยวงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  งานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนกลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนจัดการเรียนรู้ตามวงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ (2) แบบทดสอบความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาในแต่ละระดับ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 42.86) มีความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาอยู่ในระดับที่ 4 ซึ่งเป็นระดับแนวคิดที่มีความสัมพันธ์กัน ความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมี 3 แบบ ได้แก่ (1) นักเรียน 14 คน (ร้อยละ 50) มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 2 ระดับขึ้นไป(2) นักเรียน 12 คน (ร้อยละ 42.86) มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 1 ระดับ และ (3) มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียน 2 คน (ร้อยละ 7.14) ไม่เปลี่ยนแปลง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สภาพไทย ส. ., & แก้วดี ส. . (2022). ผลการใช้วงจรการประเมินการเรียนการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(4), 136–147. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/960
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

วรรณวิภา อนุกูลสวัสดิ์, จีระวรรณ เกษสิงห์ และธีราพร อนันตะเศรษฐกูล. (2014). แนวคิดเรื่องเซลล์และโครงสร้างเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (น. 96-104). สำ นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Babinčáková, M., Ganajová, M., Sotáková, I., & Bernard, P. (2020). Influence of formative assessment classroom techniques (Facts) on student’s outcomes in chemistry at secondary school. Journal of Baltic Science Education, 19(1).

Baron, J. (1981). Reflective thinking as a goal of education. Intelligence, 5(4), 291-309.

Biggs, J.B., & Collis, K.F. (1882). Evaluating the quality of learning of learning: The SOLO taxonomy (Structure of the Observed Learning Outcome). Academic Press.

Cambridge International Education. (2022). Getting started with assessment for Learning. https://cambridge-community.org.uk/professional-development/gswafl/index.html

Demmans Epp, C., Akcayir, G., & Phirangee, K. (2019). Think twice: exploring the effect of reflective practices with peer review on reflective writing and writing quality in computer-science education. Reflective Practice, 20(4), 533-547.

Ersözlü, Z. N., & Arslan, M. (2009). The effect of developing reflective thinking on metacognition awareness at primary education level in Turkey. Reflective Practice, 10(5), 683-695.

Gotwals, A. W. (2012). Learning progressions for multiple purposes: Challenges in using learning progressions. In Learning progressions in science (pp. 461-472). Brill Sense.

Han, N. S., Li, H.K., Sin, L.C., & Sin, K.P. (2018). The evaluation of student’s written reflection on the learning of general chemistry lab experiment. MOJES: Malaysian Online Journal of Educational Sciences, 2(4), 45-52.

Keeley, P. (2015). Science formative assessment, volume 1: 75 practical strategies for linking assessment, instruction, and learning. Corwin Press.

Konicek-Moran, R., & Keeley, P. (2015). Teaching for conceptual understanding in science. Arlington: NSTA Press, National Science Teachers Association.

National Research Council. (2001). Knowing what students know: The science and design of educational assessment. National Academies Press.

Tarmo, A. (2022). Integrating Assessment for Learning into the Teaching and Learning of Secondary School Biology in Tanzania. Center for Educational Policy Studies Journal.