การพัฒนาสื่อการสอนกระดานแม่เหล็ก เรื่องความงามเชิงวรรณศิลป์ ที่ปรากฏในวรรณคดี โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำ หรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพสื่อการสอนกระดานแม่เหล็กเรื่องความงามเชิงวรรณศิลป์ ที่ปรากฎในวรรณคดี โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการใช้สื่อการสอนกระดานแม่เหล็ก เรื่องความงามเชิงวรรณศิลป์ที่ปรากฎในวรรณคดี โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้แบบร่วมมือ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำ นวน 41 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อกระดานแม่เหล็ก และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำ นวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. สื่อการสอนกระดานแม่เหล็ก เรื่องความงามเชิงวรรณศิลป์ ที่ปรากฏในวรรณคดี โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มีประสิทธิภาพ 86.06/81.71 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สื่อการสอนกระดานแม่เหล็ก เรื่องความงามเชิงวรรณศิลป์ ที่ปรากฏในวรรณคดี โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลปรากฏว่า นักเรียนมีผลการทดสอบก่อนเรียน =9.66, S.D.=3.46 มีผลการทดสอบหลังเรียน =16.34, S.D.=2.11 สรุปว่านักเรียน 41 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ในดวงตา ปทุมสูติ. (2553). วรรณศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงพื้นบ้านภาคกลาง และภาพ สะท้อนวัฒนธรรมพื้นบ้านในกวีนิพนธ์ของศิวกานท์ ปทุมสูติ. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5 C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัคพิสุทธิ์ คร่ำ กระโทก. (2553). ผลการใช้นิทานประกอบภาพชุดสื่อกระดานแม่เหล็กร่วมกับเทคนิคการแบ่งกลุ่ม สำหรับฝึกความพร้อมด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม.,สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
รสิตา รักสกุล. (2557). สัมฤทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ Active Learning.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). สรุปสาระสำ คัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่เก้า พ.ศ 2545-2549. กรุงเทพ: สำ นักนายกรัฐมนตรี.
อภิชาติ ชมภูทัศน์. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเขียนบทร้อยกรองโดยเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting active learning: Strategies for the college classroom. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.