การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผัง มโนทัศน์ ที่ส่งเสริมความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ ที่ส่งเสริมความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ เรื่องอะตอมและสมบัติของธาตุ จำนวน 9 แผน 14 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Dependent t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) การนำแผนผังมโนทัศน์มาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา และขั้นที่ 3 อธิบาย ช่วยส่งเสริมความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในด้านการลงข้อสรุปได้ และช่วยตรวจสอบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสามารถสำรวจสถานการณ์หรือปัญหาและการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นของนักเรียน และผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมมาก (= 4.44, SD=0.27) และ 2) นักเรียนมีความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช และเกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ. (2563). วิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
งานประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนสารคามพิทยาคม. (11 มิถุนายน 2565). รายงานประเมิน ตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565. โรงเรียนสารคามพิทยาคม. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566, จาก https://drive.google.com/file/d/1bftD6uEIv-VJT7JhlPXIqMoRu6aZrZWm/view
จุนจุฬา ทิพย์พิมานพร. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่มีผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(16), 32-42.
ณัฏฐ์ฏาพร พิชญภูสิทธิ. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบสอบแบบแนะแนวทาง เรื่องกรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(2), 101-116.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ทศพล ทับอาษา. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประกอบผังมโนทัศน์ หน่วยการเรียนรู้ งานและพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(3), 1607-1616.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมนเนจเม้นท์.
ศรัณย์ อัมระนันท์. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยเน้นการใช้คำถามระดับสูง เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 56-70.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (19 เมษายน 2560). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566, จาก
http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/2015
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2565). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภัทรา ตันติวิทยมาศ. (2554). การพัฒนาการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณด้วยแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21970
สุภาวดี กาญจนเกต. (2566). การพัฒนาความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้แบบเมตาคอกนิชัน และการถ่ายโอนการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(2), 35-45.
ริญญาทิพย์ ศิริมนตรี. (2564). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง (ADI) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 10(1), 108-121.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิริยาภรณ์ ชมภูวงศ์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบตั้งสมมติฐานนิรนัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
Ausubel, D. P. (1963). The psychology of meaningful verbal learning. Grune & Stratton.
Choowong, K., & Worapun, W. (2021). The Development of Scientific Reasoning Ability on Concept of Light and Image of Grade 9 Students by Using Inquiry-Based Learning 5E with Prediction Observation and Explanation Strategy. Journal of Education and Learning, 10(5), 152-159.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Learning (1st ed.). Mcgarw-hill.
Lawson, A.E. (2009). Basic inferences of scientific reasoning, argumentation and discovery. Science Education, 94(2), 336–364.
Zulinda, A. Z. (2020). Identifying Scientific Reasoning Skills of Science Education Students. Asian Journal of University Education (AJUE), 16(3), 275-280.